เพื่อการแสดงผลหน้าเว็ป SPVARIETY ที่ถูกต้องท่านควรใช้ IE8 Firefox & Google Chrome
This page is optimized for IE8 Firefox & Google Chrome
หากคอมท่านมีไว้แค่ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเน็ต วันนี้เราขอแนะนำ ลองใช้ OS ของ Ubuntu Linux จ้า โหลดฟรีได้เลยที่ www.ubuntu.com
เขียนโดย sp ที่ 11:18
ที่ประชุมวุฒิสภาขนลุก ระหว่างรอผลการลงคะแนนร่างกฎหมาย จู่ๆรูป "สมัคร" ใส่ชุดขาวเต็มยศขณะกำลังยกมือไหว้โผล่บนจอมอนิเตอร์นาน 4 วินาที ตรวจสอบไม่พบคอมพิวเตอร์ผิดปกติ แถมไฟดับพรึ่บ รองปธ.วุฒิฯ เชื่ออดีตนายกฯ มาบอกลา...
เมื่อวันที่ 24 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ได้เกิดเหตุการณ์น่าพิศวงระหว่างการประชุมวุฒิสภา เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ เมื่อวุฒิสภาได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมาจนถึงช่วงเวลา13.28 น. เป็นช่วงที่นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ซึ่งอยู่ในช่วงการลงมติมาตรา 15 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 28/1
ระหว่างที่รอให้ผลการลงคะแนนปรากฏทางจอมอนิเตอร์ในห้องประชุมอยู่นั้น สมาชิกวุฒิสภาที่นั่งอยู่ในห้องประชุมก็ถึงกับตะลึง เมื่อมีภาพนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถึงแก่อสัญกรรมไปเมื่อช่วงเช้าวันเดียวกัน ปรากฏบนจอประกาศผลคะแนน ในชุดขาวพระราชทานเต็มยศ กำลังยกมือไหว้ ปรากฏค้างหน้าจออยู่ประมาณ 4 วินาทีก็หายไป
เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ ส.ว.หลายคนจับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์ ขณะที่นายนิคม พร้อมด้วยส.ว.ส่วนหนึ่งได้รุดขึ้นไปตรวจสอบเรื่องดังกล่าวถึงห้องควบคุมภาพ และผลการลงคะแนนบริเวณชั้น 3 ของอาคารรัฐสภา ก่อนเปิดเผยด้วยสีหน้าตื่นเต้นอย่างเห็นได้ชัดว่า ได้ตรวจสอบแล้ว รู้สึกขนลุก เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดทราบเรื่อง และไม่รู้สาเหตุว่าทำไมจู่ๆ ถึงมีภาพของนายสมัครปรากฏออกมา
"ขณะนั้นผมนั่งเป็นประธานที่ประชุมอยู่ด้วย ไม่ทราบเรื่องนี้ แต่ ส.ว.ที่นั่งอยู่ในห้องประชุมตะโกนว่า "ท่านสมัครมา" จึงต้องรีบขึ้นไปตรวจสอบว่าเรื่องดังกล่าวเกิดได้อย่างไร" นายนิคม กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ระหว่างที่นายนิคมและคณะ ส.ว.กำลังตรวจสอบเรื่องดังกล่าวอยู่นั้น ปรากฏว่าไฟในอาคารรัฐสภาก็ได้ดับพรึ่บประมาณ 1 นาที สร้างความตกตะลึงให้กับบรรดาส.ว.และเจ้าหน้าที่รัฐสภาเป็นอย่างยิ่ง
ทั้งนี้ นายนิคม ได้นำภาพนายสมัครยกมือไหว้ที่ปรากฏในห้องประชุมสภา ซึ่งถ่ายออกจากคอมพิวเตอร์ขนาดเอสี่ ก่อนจะเปิดเผยว่า "สงสัยท่านมาลาเรา" และว่าตนเคยเป็นลูกน้องเก่าของนายสมัคร สมัยที่เป็นรองปลัดกรุงเทพมหานคร (รองปลัด กทม.)
ด้าน ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ส.ว.สรรหา กล่าวด้วยสีหน้าตกใจว่า ทุกคนที่อยู่ในห้องประชุมเห็นแล้วขนลุก เชื่อว่านายสมัครมาบอกลา ขณะที่นายวิทวัส บุญญสถิตย์ ส.ว.สรรหา ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมที่ขึ้นไปตรวจสอบ กล่าวว่า ได้ตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์แล้วไม่มีปัญหา และไม่พบว่ามีข้อมูลรูปนายสมัครอยู่ในสต็อกภาพ
นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งรับผิดชอบดูแลสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์รัฐสภา กล่าวว่า กำลังให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงอยู่ เพราะดูจากรูปที่ปรากฏนั้น ทางสภาฯไม่มีสต็อกของรูปนี้เก็บไว้ เบื้องต้นสันนิษฐานว่า น่าจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้น อาจจะเป็นภาพข่าวอินเตอร์เน็ต ส่วนสาเหตุที่ไฟตกในช่วงบ่ายเป็นเพราะวันนี้มีการใช้กำลังไฟสูงมากกว่าปกติ เนื่องจากมีการเตรียมความพร้อมในการจัดงานยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ในวันที่ 25 พ.ย.นี้
สนับสนุนเนื้อหาข่าวโดย :
thairath.co.th
เขียนโดย sp ที่ 00:34
ตลับ HP#60 ไม่เขียนถึงไม่ได้แล้ว
หนแรกคิดว่าตลับ HP#60 รุ่นใหม่คงไม่ work
เพราะไหนเลยจะฟองน้ำเล็ก+เติมหมึกยาก แต่เครื่องพิมพ์ที่ใช้ตลับเบอร์นี้ออกมามากมาย
หลากหลายรุ่น เป็นที่แน่แท้แล้วว่าตลับ #60 คงเป็นตัวตายตัวแทนของตลับเบอร์ 21-22 ตลับหมึกในตำนาน
ผู้ใช้เครื่องพิมพ์จึงควรทำความรู้จักกับตลับ#60อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
คาดว่าเครื่องพิมพ์รุ่นใหม่ที่ใช้ตลับ#60 อีกหน่อยคงมีผู้ซื้อไปใช้งานมากมาย
ล่าสุดเห็นทั้ง Printer และ All in one รุ่นใหม่ที่ใช้ตลับ 60 ออกมาหลายรุ่น
รุ่นราคาถูกจะไม่มีเฟืองจิกกระดาษด้านหน้า ไม่สามารถพิมพ์ไร้ขอบหรือเต็มหน้าได้
ผู้ใช้ควรสังเกตและเลือกรุ่นที่เหมาะกับงานตัวเอง
จากรูปจะเห็นกงล้อสีเงินเล็ก ๆ มีไว้จิกกระดาษสำหรับรุ่นที่พิมพ์ไร้ขอบได้
ประการสำคัญที่อยากเขียนถึงคือ เรื่องการใช้หมึกเติมกับตลับ #60 และการ reset ตลับหมึก
จะไม่ขอเขียนถึงวิธีเติมหมึก ท่านสามารถหาอ่านได้จากหัวข้อ “วิธีเติมหมึกตลับ HP”
ตลับ#60 #901 #703 ใช้เทคโนโลยีใหม่ของ HP คือ หัวพิมพ์ Dual Drop Technology
ประมาณว่ามีหัวพิมพ์ 2 แถว แถวนึงใหญ่หน่อย 5.2 pl อีกแถวนึง 1.3 pl
ทำให้งานพิมพ์ที่ได้ละเอียดเนียนมากขึ้นกว่าหัวพิมพ์รุ่นเก่า แต่หมึกเติมที่ใช้ควรเป็นหมึกเกรด Nano Technology
ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีหลายยี่ห้อ ผลิตหมึกเกรดนี้ออกมา
จากคู่มือการใช้งานเครื่องพิมพ์ที่ใช้ตลับรุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องตัดไฟก่อนถอดตลับ
แต่ .. จะตัดไฟก่อนถอดตลับก็ได้ ซึ่งผมมักจะตัดไฟก่อนเสมอเพราะความเคยชินกับเครื่องรุ่นเก่า
เครื่องรุ่นใหม่หลังจากเติมหมึกอาจจะขึ้นไม่รับตลับหมึก ไฟตรงเครื่องหมายตกใจ “!” จะกระพริบ
ให้ท่านกดปุ่ม Power(หรือปุ่มon/offนั่นล่ะ) ค้างไว้อย่าปล่อย แล้วกดปุ่ม Cancel ตาม
เสร็จแล้วปล่อยปุ่มทั้ง 2 พร้อมกัน เครื่องจะพิมพ์หน้า Diagnostic ออกมา
ไฟกระพริบตรงปุ่มเครื่องหมายตกใจ “!” ก็จะหายไป หรือหยุดกระพริบ
เหลือแต่ไฟกระพริบเตือนหมึกสีหรือดำใกล้หมด (ซึ่งไม่ต้องไปสนใจ ปล่อยให้กระพริบไป)
เสร็จแล้วเครื่องก็จะสามารถใช้ตลับที่เติมหมึกได้
ไชโย.. สำเร็จแล้ว (แต่อย่าเพิ่งดีใจ อ่านให้จบก่อน)
บางครั้งเครื่องอาจจะพิมพ์หน้า Align (จัดหัวพิมพ์) ออกมาอีก 1 แผ่น
ถ้าหากตลับหมึกนั้นไม่ใช่ตลับที่ใส่อยู่ก่อนหน้านี้
ให้เอาหน้า Align คว่ำลงบนกระจก แล้วกดปุ่ม Scan 1 ครั้ง
ก็จะสามารถใช้งานได้เหมือนปกติ
สำหรับเครื่องรุ่น D1660 ซึ่งเป็นเครื่องราคาถูกที่สุดของค่าย HP
จะไม่มีปุ่ม Cancel มีเพียงปุ่ม On แค่ปุ่มเดียว
เมื่อเครื่องขึ้นไฟกระพริบที่ปุ่ม On ไม่รับตลับหมึก
ให้กดปุ่ม On ค้างไว้อย่าปล่อย แล้วเปิดปิดฝาขึ้นลง 1 ครั้งครับ
เครื่องก็จะพิมพ์หน้า Diagnostic ออกมา และสามารถใช้งานตลับเติมหมึกได้
--- ข่าวร้ายตอนจบ ---
ตลับแถมที่ผ่านการเติมหมึกจะใช้งานได้ไม่นาน
ประมาณ 300 กว่าหน้า ตลับแถมก็จะโดนล๊อค
เครื่องที่ใช้งานประมาณ 300 กว่าหน้า จะไม่สามารถใช้ตลับแถมได้
แม้ว่าจะเอาตลับแถมตัวใหม่ ของเครื่องอื่นมาใส่ก็ตาม
ดังนั้นทำใจครับพ่อแม่พี่น้อง หาซื้อตลับสี 60 ตัวใหม่ได้เลย
(ตลับดำ 60 ตัวแถม เท่าที่ใช้งานยังไม่โดนล๊อค สามารถเติมหมึกได้เรื่อย ๆ)
ตลับสี 60 ตัวใหม่ "คาดว่าน่าจะ" ไม่มีการล๊อคตลับ
เพราะผมทดลองใส่ตลับสี 60xl ที่ผ่านการเติมหมึกมาเกือบ 100 ครั้ง
เครื่องก็ยอมรับตลับปกติ ไม่มีปัญหา
โครงสร้างภายในตลับดำ #60 #901 #60B
ตรงสีแดงนั้นเป็นหัวพิมพ์ครับ ปกติสีขาวแต่ผมย้อมสีเป็นแดง แหะ..แหะ..
เวลาเติมหมึกแบบเสียบเข็มฉีดด้านบน อย่าจิ้มลงตรงกลาง จะทะลุหัวพิมพ์พัง
ตลับจะมีห้องว่างบนกับล่าง ให้ทลายผนังด้านล่างเพื่อเสริมฟองน้ำ (ด้านบนห้องเล็ก ไม่ต้องเสริมก็ได้)
จะว่าไปแล้ว ผมชอบวิธีเติมหมึกโดยไม่ต้องถอดตลับ
เจาะรูตรงมุมล่างซ้ายหรือขวาก็ได้ จิ้มเข็มฉีดหมึกเลย รวดเร็วดี
มาดูตลับสี 60 (ตัวแถม) จะเห็นว่ามีห้องว่างมากมายบนล่างซ้ายขวา
ถ้าจะเสริมอึ๋ม ต้องทลายผนังหลายด้านเลยล่ะ พอเติมหมึกมากเกินหมึกจะล้นข้ามไปผสมกับสีอื่น
ดังนั้นไม่แนะนำให้เสริมอึ๋มนะครับ
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=chaiya&group=17
เขียนโดย sp ที่ 10:20
เขียนโดย sp ที่ 03:01
ปิดฉากชีวิตลงแล้ว นายสมัคร สุนทรเสช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีบทบาทสร้างสีสรรให้กับวงการเมืองไทยมาตลอด โดยถึงแก่อนิจกรรมที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
วันนี้ (24 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ถึงแก่อนิจกรรมแล้วที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โดยมีรายงานว่า ก่อนหน้านี้ นายสมัคร หลังจากเดินทางกลับจากการรักษาที่ต่างประเทศ ได้เดินทางกลับมายังประเทศไทย และพักฟื้นอยู่ที่บ้าน โดยก่อนจะถึงแก่อนิจกรรม ได้เข้าพักรักษาตัวอีกครั้งที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และถึงแก่อนิจกรรมในที่สุด
นายสมัคร สุนทรเวชเป็นบุตรของ เสวกเอก พระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช) กับ คุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน จิตรกร) เป็นหลานลุงของ มหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) นายแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นหลานตาของ มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) จิตรกรประจำสำนัก
นายสมัครเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน ดังนี้
พ.อ. (พิเศษ) พ.ญ.มยุรี พลางกูร - อดีตรองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
นางเยาวมาลย์ ราชวังเมือง - ประกอบธุรกิจส่วนตัว
พล.อ.อ.สมมต สุนทรเวช - อดีตที่ปรึกษา ทอ. (ถึงแก่กรรมแล้ว)
นายสมัคร สุนทรเวช
นายมโนมัย สุนทรเวช - พนักงานรัฐวิสาหกิจ
นายสุมิตร สุนทรเวช - นักการเมือง หัวหน้าพรรคประชากรไทย
นายสมัคร สมรสกับ คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช ที่ปรึกษาด้านการเงินของบริษัทใน เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีบุตรสาวฝาแฝด คือ กานดาภาและกาญจนากร ปัจจุบันสมรสแล้วทั้งคู่ จากการที่ภรรยาทำงานอยู่กับบริษัทเอกชนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 สถานะการเงินของภรรยาจึงมั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวได้ นายสมัครเลยมิได้ทำงานประจำให้กับหน่วยงานใดและได้ทำงานด้านการเมืองเพียงอย่างเดียว มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516
ประวัติการศึกษา
ก่อนประถมศึกษา : โรงเรียนสตรีบางขุนพรหม
ระดับประถมศึกษา : โรงเรียนเทเวศน์ศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา : โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
ระดับอาชีวศึกษา : โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์
ระดับอุดมศึกษา : นิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประวัติทางการเมือง
นายสมัครเริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยสมัครเข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี พ.ศ. 2511 เริ่มลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2514 และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 ในชีวิตการเมืองเคยดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งตลอดเวลาที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัครได้รับการแต่งตั้งในคณะรัฐมนตรีหลายตำแหน่ง ได้แก่
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาล หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 2 (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 3 (20 เมษายน พ.ศ. 2519 - 23 กันยายน พ.ศ. 2519)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 - 19 ตุลาคม พ.ศ. 2520)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 2 (30 เมษายน พ.ศ. 2526 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534)
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร (7 เมษายน พ.ศ. 2535 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535)
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา (13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539)
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540)
นายกรัฐมนตรี (29 มกราคม - 9 กันยายน พ.ศ. 2551)
สรุปประวัติทางการเมืองได้ดังนี้
พ.ศ. 2511 : เข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2511 - 2519)
พ.ศ. 2514 : สมาชิกสภาเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร (ได้รับเลือกตั้ง เมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514)
พ.ศ. 2516 : สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 10 ธ.ค.16) และ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 23 ธ.ค.16)
พ.ศ. 2518 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ม.ค. 2518)
พ.ศ. 2518 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. 2519 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2519)
พ.ศ. 2519 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2519 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2519 - 2520)
พ.ศ. 2522 : ก่อตั้งพรรคประชากรไทย และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2522)
ประธานคณะกรรมาธิการการคลัง และสถาบันการเงิน (พ.ศ. 2523 - 2526)
พ.ศ. 2526 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2526)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2526 - 2529)
พ.ศ. 2529 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2529)
ประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง (พ.ศ. 2529 - 2531)
พ.ศ. 2531 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2531)
ประธานคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2531 - 2533)
พ.ศ. 2533 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2533 - 2534)
พ.ศ. 2535 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (มี.ค. 2535) (ก.ย. 2535)
ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม (พ.ศ. 2535 - 2538)
พ.ศ. 2538 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2538)
พ.ศ. 2539 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (พ.ย. 2539)
พ.ศ. 2543 : ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2543 - 2547)
พ.ศ. 2550 : รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2550 - 30 ก.ย. 2551)
พ.ศ. 2551 : นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (29 ม.ค.2551 - 9 ก.ย.2551)
การดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2543 ด้วยคะแนนเสียง 1,016,096 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนเสียงมากที่สุด นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยผู้ได้คะแนนอันดับ 2 คือ นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย ไดัรับคะแนนเสียงเพียง 521,184 คะแนน
นายสมัคร ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2547 นับเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 13 และเป็นคนที่ 5 ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่หลังจากพ้นตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คดีเรื่องการทุจริตกรณีจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง ก็ยังมีการดำเนินการตรวจสอบจนถึงปัจจุบัน
การเลือกตั้งวุฒิสภา 2549
หลังพ้นตำแหน่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อครบวาระ 4 ปี นายสมัครตัดสินใจไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมัยที่ 2 แต่เบนเข็มมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ปี พ.ศ. 2549 ผลการนับคะแนน นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ด้วยคะแนนเสียง เป็นอันดับสองของประเทศ รองจาก ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ ที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับที่ 1 แต่ ร.ต.อ.นิติภูมิ ยังไม่ทันได้รับการรับรองตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จาก คณะกรรมการการเลือกตั้ง เนื่องจากมีผู้ร้องเรียน เรื่องการไปขึ้นเวทีปราศัยของ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่อาจถือได้ว่าเป็นการ "หาเสียง" และขัดต่อกฎหมายเลือกตั้ง ก่อนที่จะมีการชี้ขาดเรื่องดังกล่าว การเลือกตั้งวุฒิสภา พ.ศ. 2549 ก็ได้ถูกยกเลิก เนื่องจากเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ทำให้นายสมัครต้องพ้นจากตำแหน่ง โดยไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติหน้าที่ใดๆ ในฐานะสมาชิกวุฒิสภา
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นายสมัคร สุนทรเวช ทำพิธีรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ที่บ้านพัก นายสมัคร สุนทรเวช แถลงข่าว ที่ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาลดูเพิ่มที่ การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย มกราคม พ.ศ. 2551 และ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 ของไทย
เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551 สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบ ให้นายสมัคร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมี นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี วันที่ 6 กุมภาพันธ์ นายสมัครยังได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อีก 1 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นพลเรือนคนที่ 3 ที่ดำรงตำแหน่งนี้ แต่ยังถูกกล่าวหาจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยถึงการดำรงตำแหน่งของนายสมัคร สุนทรเวช นี้ว่าเป็นนอมินี(ตัวแทน)ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุกในข้อหาเซ็นชื่อยินยอมให้ภรรยาซื้อที่ดินตามกฎหมาย
ต่อมาวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 นายชัช ชลวร ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมคณะ ได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยในกรณีที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภาและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความสิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 267 ประกอบมาตรา 182(7) เนื่องจากรับเป็นพิธีกรกิตติมศักดิ์ ของรายการ “ชิมไปบ่นไป” และ “ยกโขยง 6 โมงเช้า” ซึ่งคณะตุลาการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง เห็นว่านายสมัครกระทำต้องห้ามขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เรื่องคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี จึงทำให้นายสมัครสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรีลง แต่ให้คณะรัฐมนตรีรักษาการไปจนกว่าจะมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551 นายสมัครยังได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชนอย่างไม่เป็นทางการ โดยให้เหตุผลว่า ได้ทำหน้าที่หัวหน้าพรรคและรักษาระบอบประชาธิปไตยอย่างดีที่สุดแล้ว จึงขอยุติบทบาททางการเมือง ส่วนการดำเนินการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ให้ขึ้นอยู่กับพรรค
นายสมัครเคยถุกดำเนินคดีเป็นข่าวดังประกอบด้วย
คดีหมิ่นประมาทนายดำรง ลัทธพิพัฒน์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ถึงแก่กรรมโดยการประกอบอัตวินิบาต ขณะกำลังเดินทางไปทำงานที่ทำเนียบรัฐบาล เนื่องจากปัญหาความเครียดส่วนตัว ต่อมานายสมัคร ซึ่งถูกปรับออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล เมื่อ พ.ศ. 2529 กลายเป็นฝ่ายค้าน ได้ให้ข่าวในทำนองว่า นายดำรงฆ่าตัวตายเพราะความเครียด เนื่องจากการยักยอกงบประมาณของ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน นางสมศรี ลัทธพิพัฒน์ (เกตุทัต) ภรรยานายดำรง [14] มอบหมายให้นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความ ฟ้องหมิ่นประมาทนายสมัคร สุนทรเวช ศาลฎีกามีคำตัดสินเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ว่า "นายสมัครกล่าวข้อความเป็นเท็จและหมิ่นประมาทจริง" และได้มีคำสั่งให้จำคุกนายสมัคร สุนทรเวชเป็นระยะเวลา 6 เดือน แต่ให้รอลงอาญา
กรณีสเตตเมนต์ปลอม เมื่อ พ.ศ. 2530 นายสมัคร สุนทรเวช ถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในครม.คณะที่ 43 และได้อภิปรายไม่ไว้วางใจนายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ (ครม.คณะที่ 44) เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2530 นายสมัครอภิปรายกล่าวหาว่า นายจิรายุรับสินบนโดยนำสำเนาสเตตเมนต์แสดงการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารเฟิสต์ อินเตอร์สเตตในสหรัฐอเมริกา มาแสดงในสภาและอภิปรายว่ามีชื่อของนายจิรายุ เป็นเจ้าของบัญชีดังกล่าว ซึ่งมีรายการโอนเงินค่าสินบน เป็นจำนวนเงิน 92 ล้านบาท นายจิรายุได้ปฏิเสธและระบุว่าข้อกล่าวหาของนายสมัครเป็นเท็จและตนไม่เคยมีบัญชีธนาคารในสหรัฐอเมริกา
ต่อมา จากการตรวจสอบโดยคณะกรรมการวิสามัญตรวจสอบของสภาผู้แทนราษฎร ผ่านสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย พบว่า สเตตเมนต์ที่นายสมัครนำมาแสดงนั้นเป็นของปลอม และนายจิรายุไม่เคยมีบัญชีเงินฝากในธนาคารนั้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีการดำเนินการทางกฎหมายใดๆ กับนายสมัคร เนื่องจากมีกฎหมายให้เอกสิทธิ์คุ้มครอง ส.ส. ในระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ต่อมา นายสมัครได้ยอมรับว่า ได้นำเอกสารเท็จมาแสดงในการอภิปรายในครั้งนั้นจริง
การจัดรายการโทรทัศน์ นายสมัคร ร่วมจัดรายการ สนทนาปัญหาบ้านเมือง ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม MV1 ซึ่งถูกโจมตีโดยฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นสื่อที่เข้าข้าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและหลังจากที่มีการปฏิวัติโดยคณะปฏิรูปฯ นายสมัคร สุนทรเวช ได้เลิกรายการของตนไป ก่อนหน้านั้น สมัครได้จัดรายการ "สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน" ร่วมกับนายดุสิต ศิริวรรณ ในเวลา 11.00 น. ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ระยะเวลา 30 นาที ซึ่งนายสมัครได้กล่าวว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ "เลือกข้างใช่ไหม" จนก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และไม่พอใจของหลายฝ่าย น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ กล่าวว่า พล.อ.เปรม เป็นที่เคารพของหลายฝ่าย และเป็นถึงประธานองคมนตรี ทำให้นายสมัครขอยุติรายการดังกล่าวไปด้วยตนเอง
คดีหมิ่นประมาทอดีตรองผู้ว่าฯ กทม. นายสมัคร และ ดุสิต ศิริวรรณ ซึ่งร่วมกันจัดรายการโทรทัศน์ "เช้าวันนี้ที่ช่อง 5" ทาง ททบ.5 และ "สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน" ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ถูกนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยการโฆษณา โดยทั้งสองกล่าวหาว่านายสามารถทุจริตในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของกรุงเทพมหานครในรายการโทรทัศน์ ศาลมีคำวินิจฉัยว่า การกระทำของทั้งคู่เป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชังจริง ทั้งนี้นายสมัครได้เคยกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทมาแล้วหลายครั้ง โดยศาลปรานีให้รอการลงโทษไว้เพื่อให้ปรับตัวเป็นคนดี แต่นายสมัครกลับกระทำผิดซ้ำในความผิดเดิมอีก ศาลมีคำสั่งจำคุกสมัคร สุนทรเวช และนายดุสิต ศิริวรรณ รวม 4 กระทง ๆ ละ 6 เดือน รวมจำคุกคนละ 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ขณะนี้คดีกำลังอยู่ระหว่างการอุทธรณ์
25 กันยายน 2551 ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น ให้จำคุกนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี และนายดุสิต ศิริวรรณ 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา และใช้เงินสด 200,000 บาท ประกันตัวไป
กับสื่อมวลชน
สมัคร สุนทรเวช เป็นนักการเมืองที่รู้กันเป็นอย่างดีว่า มีวาจาที่เผ็ดร้อน และมักชอบมีวิวาทะกับสื่อมวลชนเสมอ ๆ เช่น ให้นักข่าวหุบปาก เป็นต้น ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 สมัครได้มีวิวาทะกับสื่ออีกหลายครั้ง เช่น เมื่อนักข่าวถามถึงปัญหาภายในพรรคของสมัคร นายสมัครตอบว่าเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่สามารถบอกได้ แต่นักข่าวกลับถามซ้ำหลายครั้ง นายสมัครจึงถามย้อนว่า "เมื่อคืนไปเสพเมถุนกับใครมาหรือเปล่า" เพื่อแสดงให้เห็นว่าการถามคำถามเช่นนี้เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัว, กล่าวว่า สื่อดัดจริต รวมทั้งกล่าวว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 เฮงซวย
วันที่ 3 พฤษภาคม 2551 ซึ่งเป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก องค์กรวิชาชีพสื่อได้แถลงผลการศึกษาเรื่อง '(วิ)วาทกรรมสมัครกับสื่อ' สรุปว่าตั้งแต่ช่วงที่เข้ามารับเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน สมัครใช้กลยุทธ์การสื่อสารที่ทำให้การสื่อสารสองทางเป็นการสื่อสารทางเดียว ใช้ภาษาข่มขู่ รุนแรง ดุเดือด เลี่ยง เบี่ยงเบน บิดเบือน และทำให้หลงประเด็น พูดความจริงบางส่วน หรือ พูดเท็จบ่อย ๆ ทำให้ความชอบธรรมกลายเป็นความไม่ชอบธรรม ลดทอนน้ำหนักของประเด็นคำถาม สร้างเรื่องใหม่ขึ้นมากลบเกลื่อนประเด็นสำคัญ
ผลการศึกษาได้ข้อสรุปว่า สมัคร สุนทรเวช ขาดความเข้าใจเรื่องบทบาท สถานภาพ และหน้าที่ของตนและผู้อื่น เพราะนายสมัครมีกลวิธีสื่อสารแบบที่ไม่เป็นมิตรกับสื่อ และไม่สร้างเสริมประโยชน์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะข้อความที่สื่อได้จากการทำข่าวนั้นไม่สามารถสร้างผลประโยชน์ได้ ไม่นำไปสู่กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการตรวจสอบรัฐบาลได้ แสดงออกถึงความเพิกเฉย ไม่สนใจ มองไม่เห็นคุณค่าของสื่อมวลชนในสังคมประชาธิปไตย ไม่เคารพศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของสื่อ
เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
เกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 สมัครได้เคยกล่าวไว้ในรายการ สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน ว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นมีคนตายเพียงคนเดียว และคนนั้นเป็นญวนอีกด้วย ซึ่งนายสมัครได้ย้ำอีกครั้ง ในการให้สัมภาษณ์กับ แดน ริเวอร์ส ผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็น ออกอากาศเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และยังกล่าวอีกว่า "ผมบอกว่า ถ้าผมเป็นคนเลวมาไม่ได้ไกลขนาดนี้หรอก ถ้าผมเป็นคนเกี่ยวข้องไม่ได้รับการสนับสนุนให้เดินหน้ามาถึงป่านนี้หรอก"
บทบรรณาธิการของบางกอกโพสต์ กล่าวถึงการให้สัมภาษณ์ของนายสมัครว่าไม่ได้เป็นเพียงแค่ปฏิเสธว่าตนไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เท่านั้น เขายังปฏิเสธว่าการสังหารหมู่ไม่ได้เกิดขึ้นอีกด้วย ทั้งที่มีภาพถ่ายเป็นหลักฐานแสดงว่ามีผู้เสียชีวิตหลายคน และสมัครเองก็ทราบดีว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนั้น เนื่องจากเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปลุกเร้าให้ต่อต้านคอมมิวนิสต์ อันนำไปสู่การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ซึ่งประเด็นนี้ ได้กลายเป็นประเด็นสาธารณะที่มีวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่ว ในวันที่รัฐบาลแถลงนโยบายในรัฐสภาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 สมัครก็ได้ตอกย้ำสิ่งที่ตนพูดอีกครั้ง ซึ่งเป็นการตอบโต้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ ชวน หลีกภัย ฝ่ายค้าน พร้อมกับกล่าวว่า ตนไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการปิดหนังสือพิมพ์หลังเหตุการณ์นี้ และได้สาบานด้วยว่า ถ้าสิ่งที่ตนพูดไม่เป็นความจริง ขอให้ตนพบกับความวิบัติ ถ้าไม่จริง ขอให้เจริญรุ่งเรือง
อีกทั้งสมัครยังให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่าตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แต่อย่างใด ขณะที่สื่อมวลชนรายหนึ่ง ได้โชว์รูปถ่ายที่นายสมัครยืนอยู่ข้างหลังจอมพลประภาส จารุเสถียรในครั้งนั้นแล้วชี้ให้นายสมัครดู แต่สมัครปฏิเสธว่าไม่เคยเห็นรูปดังกล่าวมาก่อน
ต่อมาในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 “แม่ลูกจันทร์” แห่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ยืนยันว่าภาพดังกล่าวถ่ายไว้ก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ถึง 4 ปี โดยเป็นภาพถ่ายเมื่อ เมื่อ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ขณะเกิดเหตุการณ์ ผู้ก่อการร้ายปาเลสไตน์ กลุ่มแบล็กเซปเทมเบอร์ บุกยึด สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล ถนนชิดลม และจับเจ้าหน้าที่สถานทูตเป็นตัวประกัน ยื่นเงื่อนไขให้รัฐบาลอิสราเอลปล่อยโจรปาเลสไตน์ที่ถูกจับกุม ภายใน 12 ชั่วโมง ขณะนั้น จอมพลถนอม กิตติขจร เป็น นายกรัฐมนตรี และ จอมพลประภาส จารุเสถียร เป็น รมว. มหาดไทย โดยที่ นายสมัคร สุนทรเวช ขณะนั้นเป็นเจ้าหน้าที่สถานทูตอิสราเอล ทำหน้าที่ประสานงานในเหตุการณ์ และ "แม่ลูกจันทร์" เป็นนักข่าวการเมืองที่อยู่ในเหตุการณ์ รูปดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ
พ.ศ. 2517 ตริตาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2518 ตริตาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2519 ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2520 รัตนาภรณ์ (ชั้นที่ ๒ )
พ.ศ. 2522 ประถมาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2524 ประถมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2526 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2527 ทุติยจุลจอมเกล้า
พ.ศ. 2527 มหาวชิรมงกุฏ
พ.ศ. 2539 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์
พ.ศ. 2545 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
ผลงาน
เขียนบทความ และความคิดเห็นทางการบ้านการเมืองแบบไม่ประจำใน สยามรัฐ, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และชาวกรุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ถึง 2516
เขียนบทความการเมืองในหนังสือพิมพ์ประชาไทย (พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2520)
เขียนบทความในคอลัมน์ประจำ (มุมน้ำเงิน) หนังสือพิมพ์เดลิมิเร่อร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 จนถึง พ.ศ. 2537
ผู้ดำเนินรายการ ชิมไปบ่นไป
ผู้ดำเนินรายการ เช้าวันนี้..ที่เมืองไทย ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
ผู้ดำเนินรายการ สนทนาประสาสมัคร ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
อาการป่วย
หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายสมัครเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ ระหว่างวันที่ 3 ตุลาคม-3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เนื่องจากป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ โดยไม่เป็นที่เปิดเผยทางสื่อมวลชนมากนัก จนกระทั่ง นายกฤษณะ ไชยรัตน์ พิธีกรโทรทัศน์ เดินทางไปถ่ายทำรายการถึงโรงพยาบาล อาการป่วยของนายสมัครจึงเป็นที่เปิดเผยในวงกว้าง ต่อมา นายสมัคร จึงเดินทางไปรักษาต่อที่ สหรัฐอเมริกา กระทั่งกลับมาเมืองไทย และพักฟื้นที่บ้าน ซึ่งต่อมา เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จนนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมในวันนี้
สนับสนุนเนื้อหาข่าวโดย : manager.co.th
Tags : สมัคร สุนทรเสช อดีตนายกรัฐมนตรี ถึงแก่อนิจกรรม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เสียชีวิต
เขียนโดย sp ที่ 22:40