สังคมออนไลน์ มีกระแสต่อต้านหนัก รัฐบาลเล็งติดสนิฟเฟอร์ ตรวจสอบการ
ดาวน์โหลดหนัง-เพลงเถื่อน ระบุ ทางออกมีมากกว่าการลงทุนติดอุปกรณ์ดัก
จับข้อมูล ย้ำ เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล บนอินเทอร์เน็ต และ อาจไม่ช่วย
แก้การละเมิดลิขสิทธิ์ได้...
จากกรณีข่าวที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้
ประสานขอความร่วมมือจากภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาการละเมิด
ทรัพย์สินทางปัญญา บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นอกจากนั้นคณะทำงาน
กำกับดูแลและเฝ้าระวังการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต ยังได้มีมติเสนอให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
(กทช.) เพิ่มหลักเกณฑ์ในการ ออกใบอนุญาตให้กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
ต้องติดตั้งอุปกรณ์ดักจับข้อมูลบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต หรือสนิฟเฟอร์
(Sniffer) ไว้ที่อินเทอร์เน็ตเกตเวย์ด้วย เพื่อดักข้อมูลการใช้งานดูว่ามีการ
ดาวน์โหลดโปรแกรม หรือคอนเทนท์ละเมิดลิขสิทธิ์ บนอินเทอร์เน็ต จน
กลายเป็นกระแสต่อต้านของคนออนไลน์ และผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการ
อินเทอร์เน็ต ลามไปยังเว็บไซต์สังคมออนไลน์ เฟซบุ๊ค และทวิตเตอร์ ใน
หัวข้อ #Thainosniff
นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล บรรณาธิการเว็บไซต์โอเพ่นออนไลน์ และ
ตัวแทนของเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า หากเปรียบเทียบ
อินเทอร์เน็ต คือ ถนนทางหลวง สนิฟเฟอร์ไม่ใช่แค่การตั้งด่านตรวจจับ แต่
เป็นการตั้งกล้องสอดแนมไปในรถทุกคันที่ใช้ถนน แม้ว่าสนิฟเฟอร์ไม่ใช่
เครื่องมือที่เลวร้ายเมื่อมองที่เจตนาการลดละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา แต่
การสอดแนมแบบนี้ก็ยากที่จะยอมรับได้ โดยจำเป็นถึงขนาดต้องสงสัยคนทั้ง
ประเทศเลยหรือ ที่ผ่านมามีแต่ประเทศจีน และสหรัฐอเมริกาที่ใช้การสนิฟ
เฟอร์ เพื่อเฝ้าระวังกลุ่มผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย หรือ เหตุผลด้านความ
มั่นคงเป็นหลัก
ตัวแทนของเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวต่อว่า บางทีเรื่องนี้อาจเป็นการ
ลงทุนที่ได้ไม่คุ้มเสีย เพราะต้นทุนในการติดตั้งอุปกรณ์ที่มีมูลค่ามหาศาลกว่า
8 หลัก การที่ประชาชนสูญเสียความเป็นส่วนตัว ไอเอสพีแบกรับภาระต้นทุน
ความเร็วอินเทอร์เน็ตช้าลง หากทาง กทช.รับรองแล้วออกประกาศออกมาจริง
คงต้องมีการยื่นเรื่องให้ทบทวนในการติดตั้งเครื่องมือดักจับข้อมูลกันอีกครั้ง
เชื่อว่าประเด็นการต่อต้านสนิฟเฟอร์ จะทำให้ประชาชนทั่วไปรู้และตระหนัก
ว่าการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตปลอดภัยแค่ไหน
นางสาวสฤณี กล่าวอีกว่า ทางที่ดีทั้งภาครัฐและเอกชนมาช่วยกันรณรงค์
สร้างจิตสำนึก ในการใช้อินเทอร์เน็ตที่ถูกต้องให้ผู้บริโภค เพิ่มช่องทางใน
การแจ้งเบาะแสของเว็บไซต์ให้ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ โดย
เราควรมองหาทางออกที่ไม่ละเมิดสิทธิ์ของประชาชน และไม่ตั้งข้อสงสัยคน
ทั้งประเทศแบบนี้ แต่พยายามชี้ถึงประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต กระจายความ
เข้าใจที่ถูกต้องให้ออกไปแบบกว้างขวาง ทั้งนี้แม้เหตุผลของรัฐที่ต้องการดัก
ข้อมูลบางอย่าง ไม่ได้เข้ามาดูข้อมูลทั้งหมด แต่การที่ข้อมูลตกอยู่ในมือภาค
รัฐ นั่นก็เป็นความเสี่ยงของผู้ใช้งาน
ด้าน นายศุภเดช สุทธิพงศ์คณาสัย ผู้เชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ต สมาคมผู้
ดูแลเว็บไทย กล่าวว่า เนื่องจาก Sniffer คือ โปรแกรมที่แฮกเกอร์ ใช้ดักอ่าน
ข้อมูลที่วิ่งไป-มาบนระบบเน็ตเวิร์ค หรือ Traffic โดย Sniffer จะเป็นอุปกรณ์
ที่ใช้เชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และคอยดักฟังข้อมูลในเครือข่าย เพื่อ
นำมาวิเคราะห์หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในการนำข้อมูลไปใช้
ประโยชน์ หากมีการสนิฟเฟอร์จริงการใช้อินเทอร์เน็ตในอนาคตคงต้อง
ระมัดระวังกันมาก จะโพสต์ จะพิมพ์อะไรลงไปต้องคิดกันมากขึ้น ขณะ
เดียวกัน เหล่าแฮกเกอร์ก็อาจมารวมตัวกันเพื่อถล่มหน่วยงานภาครัฐก่อนจะ
ดักข้อมูลได้ เพราะไปยั่วยุ
ผู้เชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ต กล่าวอีกว่า เรื่องการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์
เถื่อน ต้องทำความเข้าใจกับผู้ใช้งานว่า ยังมีโปรแกรมฟรีแวร์เป็นทางเลือกให้
ดาวน์โหลดเอาไปใช้งาน โดยโปรแกรมเหล่านี้มีคุณสมบัติ และการทำงานไม่
ต่าง หรือดีกว่าโปรแกรมลิขสิทธ์เสียอีก อาทิ ชุดโปรแกรมสุริยันจันทราของ
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิ
ป้า ที่ทำแผ่นซีดีแจกออกมา โดยจำเป็นที่ต้องลบค่านิยมการใช้ซอฟต์แวร์
แบบผิดๆ หากจะแก้เรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ที่ผ่านมาเมือง
ไทยไม่เคยปลูกฝังเรื่องการใช้โปรแกรมลิขสิทธิ์เลย ตั้งแต่ระดับโรงเรียน คน
ไม่รู้ว่าการใช้ซอฟต์แวร์นั้นมีค่าใช้จ่าย
ส่วน นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ อุปนายกสมาคมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย
กล่าวว่า ขณะนี้ เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ภาครัฐจำเป็นต้องเข้าใจ
และ คนทั่วไป ต้องเข้าใจกระบวนการของรัฐ บางครั้งการทำงานอาจไม่รอบ
ด้าน หรือไม่เท่าทัน ดังนั้น ทั้งรัฐและเอกชน ควรหันหน้ามาคุยกัน เพื่อร่วมกัน
พิจารณาว่ามีทางอื่น หรือไม่ นอกจากการสนิฟเฟอร์ข้อมูล เชื่อว่าในหน่วย
งานรัฐยังมีคนเก่งๆ มากมายยินดีเข้ามาทำงาน ทั้งนี้หากรัฐบาลเอาจริงก็คง
กันได้ไม่หมด เพราะคนที่ใช้งานก็ยังมีวิธีหลบหลีกได้อยู่ดี
ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/tech/61117
เพื่อการแสดงผลหน้าเว็ป SPVARIETY ที่ถูกต้องท่านควรใช้ IE8 Firefox & Google Chrome
Download Browsing Click Here
This page is optimized for IE8 Firefox & Google Chrome
Download Browsing Click Here
เขียนโดย sp ที่ 00:39
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)