เราอาจจะทราบกันดีว่าการฟังเพลงเสียงดังๆ หรืออยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังนั้นจะส่งผลเสียต่อการได้ยินแล้วแต่วันนี้เราจะบอกคุณว่า การฟังเสียงดังยังส่งผลร้ายมากกว่านั้น เพราะอาจทำให้ปอดล้มเหลวได้
คณะผู้เชี่ยวชาญได้เขียนรายงาน Thorax โดยกล่าวถึงกรณีของผู้ที่มีประสบการณ์ปอดล้มเหลวเพราะชอบฟังเพลงดังๆ 4 ราย ทั้งนี้อาการปอดล้มเหลวที่เกิดจากการฟังเพลง ฟังดนตรีเสียงดังนี้วงการแพทย์เรียกว่าอาการนูโมโธแรกซ์
ชายคนหนึ่งมีประสบการณ์ในการเป็นนูโมโธแรกซ์ขณะกำลังขับรถ ซึ่งจู่ๆ เขาก็เกิดหายใจติดขัดและเจ็บหน้าอกขึ้นมาอย่างไม่ทราบสาเหตุ ทว่าแพทย์ได้เชื่อมโยงอาการของเขากับลำโพงเสียงเบสที่ได้มีการติดเพิ่มเติม ในรถของเขาเพื่อให้เครื่องเสียงในรถมีพลังเสียงมากขึ้น
อาการนูโมโธแรกซ์จะเกิดขึ้นเมื่ออากาศเข้าไปแทรกตัวในช่องว่างระหว่างปอดกับพังผืดซึ่งห่อหุ้มปอดไว้ โดยจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีรอยแยกขนาดเล็กที่ผนังปอด ซึ่งวงการแพทย์คิดว่าการถูกกระตุ้นอย่างรุนแรงและถี่ๆ เช่นการฟังเพลงเสียงดังสนั่นหวั่นไหวเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยแยกในปอด เพราะอากาศและเนื้อเยื่อในปอดจะตอบสนองต่อปฏิกิริยาทางเสียงแตกต่างกัน
ตามปกติ ความเสี่ยงที่จะมีอาการปอดล้มเหลวมักจะมีสาเหตุจากการสูบบุหรี่ หรืออาการเจ็บป่วยที่ทำให้ผู้ป่วยอ่อนแอลง การเป็นโรคที่เกี่ยวกับปอดอย่าง เรื้อรัง หรือการใช้ยาหรือสารที่มีฤทธิ์ระงับความตื่นตัวและยากดประสาท
เช่น ยานอนหลับ บาบิทูเรต ยาสลบ หรือแอลกอฮอล์
อย่างไรก็ตาม แม้อาการปอดล้มเหลวที่เกิดจากการฟังเพลงเสียงดังจะเป็นกรณีที่ไม่ค่อยเกิด ขึ้นก็ตาม แต่อาการดังกล่าวก็สามารถส่งผลให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่ เพียงพอ และชีวิตของผู้ป่วยก็จะตกอยู่ในอันตราย
ดร.จอห์น ฮาร์วีย์ จากโรงพยาบาลเซาท์มีด ในบริสทอล ซึ่งเขียนรายงาน Thorax ร่วมกับคณะนักวิจัยจากประเทศเบลเยียม กล่าวกับทางบีบีซีว่า เขาไม่คิดว่าจะมีใครสามารถยับยั้งไม่ให้คนไปสโมสร หรือไปตามสถานที่ที่มีเสียงดังๆ ได้ แต่เราอาจจะแนะนำผู้คนให้หลีกเลี่ยงการยืนใกล้ๆ
คนที่พูดเสียงดังหรือไม่แต่งเติมเครื่องเสียงในรถจนมากเกินไป
"อาการปอดล้มเหลวที่เกิดจากการฟังเพลงดังนั้นมักจะเกิด กับผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึง 3 เท่า และอาการเจ็บปวดของโรคนูโมโธแรกซ์ก็มักจะเกิดขึ้นในขณะที่อยู่ในสโมสร หรืออยู่ใกล้ๆ ลำโพงเสียงเบสขณะกำลังชมคอนเสิร์ต"
เครดิต: http://hits4teen.com/viewthread.php?tid=957
เพื่อการแสดงผลหน้าเว็ป SPVARIETY ที่ถูกต้องท่านควรใช้ IE8 Firefox & Google Chrome
Download Browsing Click Here
This page is optimized for IE8 Firefox & Google Chrome
Download Browsing Click Here
เขียนโดย sp ที่ 00:10
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น