กูเกิลเปิดทดสอบระบบโฆษณาออนไลน์ใหม่ในชื่อ "interest-based advertising" หรือระบบโฆษณาออนไลน์ที่อิงตามความสนใจของผู้บริโภค เปิดฉากทดสอบกับนานาพันธมิตร AdWords และ AdSense ระบบโฆษณาดั้งเดิมของกูเกิลที่อิงกับคีย์เวิร์ดหรือคำสืบค้นซึ่งผู้ใช้ป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาข้อมูลเป็นหลัก โดยจะทดสอบกับเว็บไซต์แชร์ไฟล์วีดีโอชื่อดังที่กูเกิลซื้อมาอย่างยูทูบ (YouTube) ด้วย
ระบบโฆษณาใหม่ของกูเกิลถูกออกแบบมาเพื่อบันทึกความสนใจของนักท่องเน็ตโดยอ้างอิงจากประวัติการใช้งานเว็บไซต์และการค้นหาข้อมูล จากนั้นจะนำเสนอ"โฆษณาสั่งตัด"ที่ระบบเชื่อว่าเหมาะสมกับผู้ใช้โดยไม่คำนึงถึงเนื้อหาเว็บไซต์ที่ถูกเปิดใช้งานในขณะนั้น ที่สำคัญ ผู้ใช้จะมีสิทธิ์ในการเพิ่มหรือลดประเภทโฆษณาสำหรับตัวเองได้ด้วย
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ระบบนี้จะทำให้โฆษณาขายรองเท้าปรากฎขึ้นแม้นักท่องเน็ตกำลังสืบค้นรายการอาหาร โฆษณารองเท้าที่ถูกแสดงแก่ผู้ใช้ไม่มีความเกี่ยวพันกับคำสืบค้นชื่ออาหารที่ถูกใช้งานในขณะนั้น หรือมีเนื้อหาสอดคล้องกับเนื้อความเว็บไซต์ที่ถูกเปิดใช้งานอยู่ แต่จะเกี่ยวกับประวัติการสืบค้นในอดีตที่ผู้ใช้เคยให้ความสำคัญมาก่อนแทน ต่างจากแนวคิดดั้งเดิมของ AdWords และ AdSense ที่จะเน้นเสนอโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับคำสืบค้นหรือหน้าเว็บเพจในขณะนั้น
"การโฆษณาที่อิงจากคีย์เวิร์ดหรือคำสืบค้นนั้นประสบความสำเร็จมาตลอดเพราะช่วยสร้างประโยชน์มหาศาลให้กับผู้ใช้ นักการตลาด และสื่อผู้ผลิตคอนเทนท์ ที่ได้รับการตอบโจทย์ครบทุกคน กูเกิลเชื่อว่าโฆษณาที่อิงจากความสนใจของผู้ใช้งาน ก็จะทำให้เกิดวงจรความสำเร็จในลํกษณะเดียวกัน แต่จะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับโฆษณาที่ตรงใจมากขึ้น ส่งให้รายรับของนักการตลาดและสื่อมีมูลค่าเพิ่มขึ้น" ตามเนื้อความแถลงการณ์ของกูเกิล
Susan Wojcicki ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ของกูเกิลชี้แจงว่า การทดสอบระบบโฆษณาใหม่ของกูเกิลจะเริ่มบนเว็บไซต์ยูทูบและพันธมิตรหลายราย โดยจะทดลองให้นักการตลาดกำหนดกลุ่มเป้าหมายจากประเภทความสนใจหลักๆเช่น กีฬา การจัดสวน รถยนต์ หรือสัตว์เลี้ยงก่อนในเบื้องต้น ยังไม่มีรายงานว่ากูเกิลกำหนดให้การทดสอบเสร็จสิ้นเมื่อไรในขณะนี้
Wojcicki ยอมรับว่าระบบโฆษณาใหม่นี้จะเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค เช่นเดียวกับที่คู่แข่งในตลาดโฆษณาออนไลน์รายอื่นเคยประสบชะตากรรมเดียวกันมาก่อน จุดนี้กูเกิลแก้ปัญหาด้วยการเปิดทางให้นักท่องเน็ตทุกคนสามารถเข้ามาชม ลบ หรือเพิ่มหมวดหมู่ความสนใจซึ่งระบบของกุเกิลวิเคราะห์ไว้ได้ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ รวมถึงสามารถให้ข้อมูลเพิ่มว่าต้องการโฆษณาลักษณะใดบนเว็บไซต์ยูทูบและพันธมิตรของกูเกิล โดยข้อมูลเหล่านี้จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ระบบนำไปประมวลผล ไม่ใช่ทั้งหมด
ที่สำคัญ กูเกิลได้สงวนสิทธิ์ในการเพิ่มหมวดหมู่ความสนใจบางหมวด โดยเฉพาะหมวดที่มีความเสี่ยงสูงเช่น หมวดสุขภาพ หรือหมวดที่ประกอบด้วยสินค้าล่อใจเยาวชน และยังให้สิทธิ์นักท่องเน็ตสามารถสั่ง Opt Out หรือปิดความสามารถไม่ให้ระบบติดตามประวัติการท่องเว็บจากไฟล์คุ้กกี้ (cookie) ได้ คาดว่าจะไม่ทำให้ประเด็นกล่าวหาว่ากูเกิลละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคเกิดขึ้นในอนาคต
ข่าวจาก manager.co.th
ข่าววันที่ 13/3/2552 10:28:53 น
เพื่อการแสดงผลหน้าเว็ป SPVARIETY ที่ถูกต้องท่านควรใช้ IE8 Firefox & Google Chrome
Download Browsing Click Here
This page is optimized for IE8 Firefox & Google Chrome
Download Browsing Click Here
เขียนโดย sp ที่ 09:35
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น