กูเกิลโชว์เว็บแอปพลิเคชันใหม่สะท้านวงการนาม "กูเกิลเวฟ (Google Wave)" แอปพลิเคชันออนไลน์ที่จะทำให้ผู้ใช้ลืมการเปิดหน้าต่างหลายชั้นเพื่อรับส่งอีเมล แชตกับเพื่อน แชร์ไฟล์ภาพ และใช้งานเครื่องมืออื่นๆ เพราะกูเกิลเวฟจะรวมทุกอย่างไว้ในที่เดียวเพื่อใช้งานแบบเรียลไทม์
6 _7 ^$ R6 j7 a9 B1 w3 y6 s& e
กูเกิลเวฟถูกออกแบบมาเพื่อให้กลุ่มเพื่อนหรือกลุ่มคนทำงาน มีช่องทางใหม่ในการติดต่อสื่อสารและแบ่งปันข้อมูล-ความคิด การันตีฝีมือการสร้างเดียวกับทีมปั้น Google Maps ซึ่งได้รับความนิยมทั่วโลกในขณะนี้ เชื่อ Wave จะเป็นคลื่นการสื่อสารระลอกใหม่ที่ทำให้โลกอินเทอร์เน็ตเกิดการเปลี่ยนแปลง
กูเกิลประเดิมสาธิตการทำงานของกูเกิลเวฟ (Google Wave) เวอร์ชันพรีวิวอย่างเป็นทางการในงานประชุมนักพัฒนา Google I/O เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคมที่ผ่านมา
, R7 w$ q5 e( I# Z' H1 `7 G4 m
ต้องสร้าง"เวฟ"ของตัวเองก่อน
หลักการทำงานของกูเกิลเวฟคือ ผู้ใช้ต้องสร้างหัวข้อสนทนาขึ้นมาก่อนแล้วจึงเพิ่มชื่อผู้ติดต่อหรือสมาชิกที่ต้องการสื่อสารด้วยลงไป หัวข้อสนทนาจะถูกเรียกว่า"เวฟ (wave)"โดยทุกคนที่อยู่ในรายการเวฟสามารถใส่คอมเมนท์ได้ทุกพื้นที่ของข้อความอย่างเสรี สามารถพิมพ์ข้อความตอบคอมเมนท์หรือแก้ไขเวฟได้โดยตรง หรืออาจใส่ภาพ โปรแกรมเก็ดเจ็ด รวมถึงฟีดจากเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต
$ _& J" j9 n" K0 j/ b
ผลคือทุกคนไม่จำเป็นต้องใส่คอมเมนท์ไว้ท้ายบทความหรือท้ายข่าว แต่สามารถใส่ไว้ที่กลางบทความ หรือพื้นที่ใดของบทความก็ได้ โดยใส่ได้หมดทั้งข้อความ ภาพ และวิดีโอ; }. B1 C1 y3 {* `* Z+ Z. L
ความเป็นเรียลไทม์ของกูเกิลเวฟ พัฒนาถึงขั้นที่ว่าเจ้าของเวฟจะสามารถมองเห็นว่าคนในเวฟกำลังพิมพ์ตัวอักษรอะไรในขณะนั้น ทำให้เกิดการสื่อสารที่เร็วกว่าโปรแกรมแชตปกติ และให้ความรู้สึกในการโต้ตอบกับคนในกลุ่มได้แบบเรียลไทม์จริงๆ ทั้งหมดทำให้เวฟเป็นส่วนผสมที่ผู้ใช้สามารถสื่อสารกัน ทำงานร่วมกัน แบ่งปันข้อมูล และให้ความรู้สึกเรียลไทม์แท้จริง โดยเวฟสามารถนำมา 'playback' หรือย้อนดูความเปลี่ยนแปลงของเวฟในอดีตได้ด้วย( o( t. J |% A; I1 S6 O
$ G! y/ f4 v# w5 z4 s
ความที่ระบบเพื่อนของกูเกิลเวฟมีลักษณะคล้ายเครือข่ายสังคม คือเพิ่มชื่อเพื่อนและแยกลำดับความสำคัญได้ ทำให้มีการเปรียบเทียบว่ากูเกิลเวฟคือเฟสบุ๊ก (Facebook) แบบเรียลไทม์ ส่วนความสามารถในการแก้ไขเวฟได้พร้อมกับเพื่อนในกลุ่ม ทำให้ถูกนำไปเปรียบเทียบว่าคือสารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย (Wikipedia) ที่ทุกคนแก้ไขได้พร้อมกัน หน้าตาโปรแกรมโดยรวมถูกนำไปเทียบกับโปรแกรมเพื่อการสื่อสารและทำงานร่วมกัน (collaboration) ราคาแพงอย่าง Lotus Notes หรือ IBM Workplace
กูเกิลสรุปในเว็บไซต์ว่า เทคโนโลยีสำคัญของกูเกิลเวฟประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก หนึ่งคือ Real-time collaboration เทคโนโลยีควบคุมการทำงานร่วมกันซึ่งจะทำให้ทุกคนบนเวฟสามารถแก้ไข"ริชมีเดีย"ได้พร้อมกัน สองคือ Natural language tools เครื่องมือสะกดคำอัจฉริยะที่ใช้บริบทข้อความในการตัดสินใจ โดยกูเกิลสาธิตว่า หากมีการพิมพ์ข้อความ Icland is an icland ระบบจะแก้เป็น Iceland is an island ให้โดยวิเคราะห์ด้วยเซิร์ฟเวอร์ที่มีคลังข้อมูลการเขียนอยู่& z# _, C5 z7 O: Q
และสามคือเทคโนโลยี Extending Google Wave ที่จะทำให้เวฟถูกนำไป embed หรือฝังไว้ในเว็บไซต์อื่นๆ โดยกูเกิลจะออก Google Wave APIs เพื่อให้นักพัฒนาทั่วไปสามารถเพิ่มโปรแกรมเครือข่ายสังคมใหม่ๆลงในเวฟได้
0 E7 S& u* E# Z( I9 w9 Z, `
กำเนิด"เวฟ"9 D( v, ?" H( P! f" L# E6 p
0 ^: j9 E9 _( Z) R8 m9 v a9 h
ในบล็อกของกูเกิล ผู้นำทีมพัฒนากูเกิลเวฟอย่าง Lars Rasmussen ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ของกูเกิล พร้อมกับทีมซึ่งเป็นหนึ่งในทีมสร้างเว็บแอปพลิเคชันแผนที่ยอดฮิตอย่างกูเกิลแม็ปส์ เล่าถึงจุดกำเนิดของกูเกิลเวฟว่ามาจากพี่ชายนาม Jens Rasmussen ที่มั่นใจมากว่า"เทคโนโลยีการสื่อสารในอนาคต"ควรจะเป็นคอนเซ็ปต์ต่อไปที่ทีมควรให้ความสนใจหลังจากทำโปรเจคกูเกิลแมปส์เสร็จสิ้น
8 |( e; D* r5 ?; p2 C1 t2 f
ทั้ง Lars และ Jens เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Where 2 Tech ที่กูเกิลซื้อมาเมื่อปี 2004 โดยหลังจากนำผลงานที่มีมาปรับแต่งและเปิดให้บริการในนามกูเกิลแม็ปส์แล้ว ทีมพัฒนาซึ่ง Lars ใช้คำในบล็อกว่า "5 ผู้บุกเบิก"หรือ five-person startup จึงได้เริ่มต้นคิดว่าควรจะทำโครงการอะไรต่อจากแอปพลิเคชันด้านแผนที่( l2 i% l3 N- U5 E
Lars เล่าว่า Jens เป็นผู้ชี้คำตอบให้ทีมว่าจะต้องเป็นระบบการสื่อสาร จุดนี้ Jens วิเคราะห์ว่าช่องทางการสื่อสารในโลกดิจิตอลที่ประสบความสำเร็จสูงที่สุดคืออีเมลและโปรแกรมแชตหรือโปรแกรมไอเอ็ม แต่อีเมลก็เกิดขึ้นโดยจำลองการส่งจดหมายซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารของมนุษย์มานาน ขณะที่โปรแกรมแชตก็เรัยกได้ว่าเป็นการจำลองการโทรศัพท์3 I. P% D ]6 @% a
1 s8 f/ [) Z2 O& ]0 y
นอกเหนือจาก 2 โปรแกรมนี้ โลกยังมีการคิดค้นรูปแบบสื่อสารอื่นๆอยู่ตลอดเวลาที่ผ่านมา เช่น บล็อก วิกิ แอปพลิเคชันสำหรับการทำงานด้านเอกสารร่วมกัน และเครื่องมืออื่นๆที่มีรูปแบบแยกกัน ซึ่งเมื่อพิจารณาร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดส่งให้ Jens ต้องการสร้างรูปแบบการสื่อสารใหม่ที่สามารถรวมความก้าวหน้าทุกอย่างไว้ในจุดเดียว$ S3 T/ F1 X7 V) H. D) A
หลังจากเปลี่ยนโปรแกรมแผนที่ต้นแบบของ Where 2 Tech ให้เป็นกูเกิลแม็ปส์ราว 2 ปี พี่น้อง Rasmussen จึงตัดสินใจว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องออกจากทีมกูเกิลแม็ปส์เพื่อเริ่มเปลี่ยนแนวคิดของ Jens ให้เป็นรูปเป็นร่างโครงการเสียที ใช้ชื่อโครงการว่า "Walkabout" ในช่วงแรก/ b7 R6 b( T {) A& X* L/ n
ทีมพัฒนาเริ่มต้นทำงานด้วยโจทย์ว่า ทำไมเราจึงต้องมีชีวิตอยู่กับรูปแบบการสื่อสารที่แตกต่างกัน รูปแบบการสื่อสารเดียวจะสามารถให้บริการได้คลุมทุกระบบหรือคลุมระบบการสื่อสารส่วนใหญ่ที่ถูกใช้งานบนเว็บได้หรือไม่ หากทำได้จะทำอย่างไรให้ง่ายที่สุด และจะเป็นอย่างไร หากทีมจะพยายามออกแบบระบบสื่อสารที่ใช้ความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน แทนที่จะเน้นการจำลองระบบสื่อสารเดิมๆที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอิเล็กทรอนิกส์
คำถามเหล่านี้ถูกนำมาถกซ้ำไปมาในห้องประชุมที่กูเกิลในเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย หลายเดือนผ่านไป ทีมสามารถสร้างระบบต้นแบบ เพื่อนำไปขยายแนวคิด ขยายทีมงาน และพัฒนาเทคโนโลยีเป็นเวลามากกว่า 2 ปี กระทั่ง Walkabout ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Google Wave และถูกสาธิตการทำงานของเวอร์ชันพรีวิวในงาน Google I/O ในที่สุด+ s4 L7 b. l1 w% w: N0 R
/ P, l; f1 c# ^
Lars ระบุว่า 'wave' คือส่วนผสมที่เท่ากันระหว่างการสนทนาและงานเอกสาร เป็นที่ที่ผู้ใช้สามารถสื่อสารและทำงานด้วยกันผ่านข้อความ รูปภาพ วิดีโอ แผนที่ที่มีรูปแบบเหนือชั้น
มาตรฐานเปิดเอาใจนักพัฒนา
. L1 B. z' M' F/ d5 S/ |
ในบล็อก Rasmussen ได้แบ่งขอบเขตกูเกิลเวฟออกเป็น 3 ส่วน นั่นคือส่วนผลิตภัณฑ์ ส่วนแพลตฟอร์ม และส่วนโปรโตคอล ส่วนผลิตภัณฑ์เป็นเว็บแอปพลิเคชันที่ทุกคนใช้เข้าถึงและแก้ไขเวฟ เป็นแอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นด้วย Google Web Toolkit ตามมาตรฐาน HTML 5 ซึ่งบราวเซอร์ของไมโครซอฟท์ยังไม่รองรับ
7 R- G# E8 ^; q, P; D4 g" I- R! \; G
แพลตฟอร์มของกูเกิลเวฟเป็นมาตรฐานเปิด เอาใจนักพัฒนาเสรีเต็มที่เช่นเดียวกับโปรโตคอลสำหรับเก็บ แชร์เวฟ และการควบคุมการทำงานร่วมกันที่ล้วนอยู่ภายใต้มาตรฐานเปิดเช่นเดียวกัน จุดนี้ Adam Schuck วิศวกรในทีมเวฟให้สัมภาษณ์ว่านักพัฒนาจะมองว่าแพลตฟอร์มของกูเกิลเวฟคือโอกาสทองที่รอคอยมานาน เนื่องจากสิ่งสำคัญที่ถูกคำนึงถึงในการสร้างกูเกิลเวฟ คือความพยายามในการแก้ปัญหาเรื่องความต่างของแพลตฟอร์มและโปรโตคอลที่นักพัฒนาต้องพบเจอมาตลอดในอดีต# ~% v5 k8 {5 Q0 g
Casey Whitelaw วิศวกรอีกรายในทีมกูเกิลเวฟให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า กูเกิลเวฟจะช่วยแก้ปัญหาเก่าๆของระบบทำงานร่วมกันในอดีตได้ ทั้งในเรื่องการจัดการโครงสร้างข้อมูลและการหาโฮสต์เก็บข้อมูล นักพัฒนาจะไม่ต้องเสียเวลาคิดหาทางแก้ปัญหาเหล่านี้อีกต่อไป หน้าที่หลักจึงเหลือเพียงสร้างแอปพลิเคชันดีๆขึ้นมาเท่านั้น
$ X. r6 Z- U3 G/ _3 O# O2 J7 L
แม้กูเกิลเวฟจะถูกเปิดตัวแล้วในฐานะเวอร์ชันพรีวิวสำหรับนักพัฒนา แต่ Lars Rasmussen ระบุในบล็อกว่ายังไม่มีกรอบกำหนดการให้บริการกูเกิลเวฟอย่างเป็นทางการในขณะนี้ ซึ่งขณะนี้หลายสำนักพิมพ์ระบุว่าไม่เกินปีนี้แน่นอน
"เราวางแผนจะพัฒนากูเกิลเวฟเวอร์ชันพรีวิวต่อเนื่องไปอีกหลายเดือน เรากำลังตื่นเต้นว่าเสียงตอบรับที่ได้จะเป็นอย่างไร และเชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกูเกิลเวฟทั้งในส่วนผลิตภัณฑ์ แพลตฟอร์ม และโปรโตคอลอีกมากมายในอนาคต"; y' h( H9 @9 g+ m
' R* w. f) Q/ E2 ?
ที่มา ผู้จัดการ
เพื่อการแสดงผลหน้าเว็ป SPVARIETY ที่ถูกต้องท่านควรใช้ IE8 Firefox & Google Chrome
Download Browsing Click Here
This page is optimized for IE8 Firefox & Google Chrome
Download Browsing Click Here
เขียนโดย sp ที่ 01:14
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น