หลังจากเปิดตัวระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา กูเกิล (Google) ประกาศว่ากำลังพัฒนาระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะนี้ เท่ากับการเป็นคู่แข่งระหว่างกูเกิลและไมโครซอฟท์ (Microsoft) จะทวีความเข้มข้นขึ้นอีกในอนาคต
กูเกิลแถลงว่าระบบปฏิบัติการของกูเกิลจะมีพื้นฐานอยู่บนเว็บเบราเซอร์ "โครม (Chrome)" ใช้ชื่อเรียกในขณะนี้ว่า Google Chrome OS โดยจะสร้างด้วยชุดคำสั่งมาตรฐานเปิด กลุ่มเป้าหมายสำคัญคือคอมพิวเตอร์เน็ตบุ๊ก (คอมพิวเตอร์พกพาตัวเล็กที่มีราคาต่ำกว่า คุณสมบัติน้อยกว่า ใช้พลังงานน้อยกว่า และขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก)
กูเกิลระบุว่าต้องการคิดใหม่ว่าระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่แท้จริงควรจะเป็นอย่างไร โดยคาดว่าคอมพิวเตอร์เน็ตบุ๊กระบบปฏิบัติการกูเกิลจะสามารถเริ่มวางตลาดได้ในช่วงกลางปีหน้า
จุดสำคัญที่กูเกิลจะพัฒนาให้ Google Chrome OS คือความเร็ว ความง่าย และความปลอดภัย โดยกูเกิลยืนยันว่าจะพัฒนาให้ระบบปฏิบัติการสามารถทำงานได้เร็วและไม่กินทรัพยากรมาก ตั้งเป้าว่าจะพัฒนาให้เครื่องสามารถเริ่มทำงานและเปิดเว็บเพจบนโลกออนไลน์ได้ใน 2-3 วินาที
กูเกิลบอกว่าความเคลื่อนไหวครั้งนี้มาจากแนวคิดที่ว่า คอมพิวเตอร์จำเป็นต้องดีกว่านี้
"เพราะผู้บริโภคต้องการให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วเหมือนตอนแรกที่ซื้อมา พวกเขาต้องการเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตได้แบบทันที ซึ่งตอนนี้ เราต้องการความช่วยเหลือจากสังคมโอเพ่นซอร์สอย่างมากในการทำให้วิสัยทัศน์นี้ประสบความสำเร็จ"
กูเกิลยืนยันว่า Google Chrome OS จะเป็นคนละส่วนกับระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่นามแอนดรอยด์ (Android) ไม่ระบุรายละเอีอยดทีมนักพัฒนา แต่เชื่อว่ามีจุดยืนใกล้เคียงกัน
"Google Chrome OS ถูกสร้างเพื่อคนที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในโลกออนไลน์ และถูกออกแบบมาเพื่อให้เหมาะกับการจัดการพลังงานทุกระดับในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่เน็ตบุ๊กขนาดเล็กจนถึงคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปเต็มรูปแบบ ที่สำคัญ การสร้างแอปพลิเคชันบนอินเทอร์เน็ตจะไม่ต้องถูกจำกัดเพราะมาตรฐานของระบบปฏิบัติการอีกต่อไป"
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.zabzaa.com/news/technology/view.php?id=177
เพื่อการแสดงผลหน้าเว็ป SPVARIETY ที่ถูกต้องท่านควรใช้ IE8 Firefox & Google Chrome
Download Browsing Click Here
This page is optimized for IE8 Firefox & Google Chrome
Download Browsing Click Here
เขียนโดย sp ที่ 00:19
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น