ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ต้องจารึกเอาไว้ว่า เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 53 เวลาประมาณ 18.00 น.พรรคการเมือง ซึ่งมีความเก่าแก่มากที่สุดประวัติศาสตร์ประเทศไทยได้ถูกคณะกรรมการเลือกตั้ง หรือ กกต. ลงมิติเสียงข้างมากให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ กับข้อหารับเงินเงินบริจาค 258 ล้านจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ผ่านบริษัทเมซไซอะ จำกัด จำนวน 258 ล้านบาทเป็นการพลิกโฉมหน้าของการเมืองไทยครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้ง...
ประวัติความเป็นมา 4 ยุค ของพรรคระดับตำนานประเทศไทย
จากการเข้าไปค้นประวัติของพรรคประชาธิปัตย์ในเว็บไซต์พบว่า พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดที่มีการก่อตั้งก่อนที่จะมีพระราช บัญญัติพรรคการเมืองโดยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2489 โดยมี นายควง อภัยวงศ์ เป็น หัวหน้าพรรคคนแรกและ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ได้ดำเนินการต่อสู้ทางการเมืองใน ระบอบประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องซึ่งพอจะจำแนกออกได้เป็น 4 ยุค กล่าวคือ
ยุคที่หนึ่ง (2489-2501)
ยุคแห่งการสร้างพรรค และสร้างประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการ ในระยะต้นสภาพการเมืองของประเทศไทยมีความผันผวนเนื่องจากอยู่ใน ระหว่าง การเริ่มต้น การดำเนินงานทางการเมืองอยู่ในวงแคบพรรคประชาธิปัตย์ได้มีการดำเนินการ ทางการเมืองที่ สำคัญสรุปได้ดังนี้
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐบาลรับเชิญของคณะรัฐประหาร พ.ศ 2490
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาลแห่งกลุ่มจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ระหว่างปี 2501-2511 บทบาททางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ได้หยุดชั่วคราว เมื่อ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครอง และเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จในปี 2501
ยุคที่สอง (2511-2519)
ยุคแห่งการฟื้นฟูพรรค และเชิดชูประชาธิปไตย ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 ทางพรรคฯได้มีการ ดำเนินการทางการเมืองที่สำคัญดังนี้
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาล จอมพล ถนอม กิตติขจร
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นฝ่ายค้านรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2519
ยุคที่สาม (2522-2533)
ยุคแห่งการปรับปรุงนโยบาย และเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมือง ในปี พ.ศ. 2521 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 22 เมษายน 2522 นับเป็นการเข้าสู่ยุคที่สามทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งทางพรรคฯ ได้มีการดำเนินการทางการเมืองที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (1, 2, 3, 4, 5)
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ยุคที่สี่ (ปลายปี 2533-ปัจจุบัน)
ยุคแห่งการเป็นรัฐบาลของประชาชนและฝ่ายค้านที่มี ประสิทธิภาพ ในวันที่ 12 ธันวาคม 2533 พรรคประชาธิปัตย์ ได้ประกาศถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลพลเอกชาติชายชุณหะวัณ ซึ่งหลังจากนั้นได้เกิดผันแปรทางการ เมืองอย่างรุนแรงนำ มาถึงเหตุการณ์ยึดอำนาจของ“คณะ รสช.” และเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ในที่สุด ท่ามกลางวิกฤติการทางการเมืองในยุคที่สี่นี้พรรคประชาธิปัตย์ได้เข้ามามี บทบาทในการ ต่อต้านเผด็จการเคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชนจนกระทั่งเหตุการณ์สงบ และนำไป สู่การเลือกตั้งในเดือนกันยายน 2535 ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้รับชัยชนะขาวสะอาดมี ส.ส ได้รับเลือกตั้ง มากที่สุดเป็นจำนวน 79 คน และได้เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ดำเนินการบริหารบ้านเมือง มาเป็นระยะเวลา 2 ปีครึ่ง
จนมาถึงกลางปี 2538 ซึ่งมีเหตุการณ์พลิกผันทางการเมืองจน นำมาสู่ การยุบสภาทำให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 กรกฏาคม 2538 ซึ่งสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็น ส.ส 86 คน และดำเนินการทางการเมืองเป็นฝ่ายค้านรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา ซึ่งทางพรรคได้พิสูจน์ถึงการเป็นพรรคฝ่ายค้านที่มีประสิทธิภาพต่อสู้กับการ ปกครองประเทศที่ไม่โปร่งใส จนในที่สุด นายบรรหาร ศิลปอาชา ต้องประกาศ ยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539
ภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคการเมืองบางพรรครวมทั้งพรรคพลัง ประชาชน ซึ่งเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ส่งผลให้ต้องมีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ กลุ่มการเมืองบางกลุ่มที่เคยสนับสนุนพรรคพลังประชาชนได้หันมาร่วมกับพรรค ประชาธิปัตย์ ทำให้ นายอภิสิทธิ์ ได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่ในสภาผู้แทนราษฏร และได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 ขณะนั้นเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยเริ่มถดถอยอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก และปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมืองภายในประเทศ
จากการดำเนินการทางการเมืองที่ต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 63 ปี พรรคประชาธิปัตย์ ได้ต่อสู้ กับระบอบเผด็จการเดิมมาในหลายยุคสมัยบางครั้งแสดงบทบาทในฐานะพรรคฝ่ายค้าน บางครั้งแสดงบทบาทในฐานะฝ่ายรัฐบาล แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีบทบาทและฐานะอย่างไร ในการต่อสู้ ทางการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ยังคงยึดมั่นการดำเนินการทางการเมืองในระบอบประ ชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ยึดถืออุดมคติ 4 ประการของพรรค ยืนหยัดพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่และมุ่งมั่นสร้างสังคมที่เป็น ธรรมให้บังเกิดขึ้น ด้วยจิตใจ และการอุทิศตัวในหลักการแห่งความซื่อสัตย์สุจริต
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองเดียวที่เป็นสถาบันการเมืองอย่างแท้จริง ไม่มีนายทุนเป็นเจ้าของ แต่เป็นของประชาชนและผู้ร่วมอุดมการณ์ที่เสนอตัวเข้ามารับใช้ ประชาชน ปัจจุบันพรรคมีสมาชิก กว่า 2,860,000 คน ณ เดือนก.ย.2552
และแม้ว่ากระบวนการในการตัดสินยุบพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งจะส่งเอกสารประกอบการลงมติของกรรมการการเลือกตั้งให้กับสำนักงานอัยการสูงสุดภายใน 30 วัน หลังจากนั้นอัยการสูงสุดจะทำการพิจารณาเอกสารพร้อมส่งสำนวนให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตัดสินต่อไป ส่วนระยะเวลานั้นขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของอัยการสูงสุดและศาลรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ดี ปฐมบทที่ว่านี้ก็ถือว่าเป็นสัญญาณของการปิดตำนานของพรรคการเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่ "ช็อก" คนไทยทั้งประเทศ...?
เพื่อการแสดงผลหน้าเว็ป SPVARIETY ที่ถูกต้องท่านควรใช้ IE8 Firefox & Google Chrome
Download Browsing Click Here
This page is optimized for IE8 Firefox & Google Chrome
Download Browsing Click Here
เขียนโดย sp ที่ 13:49
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น