เพื่อการแสดงผลหน้าเว็ป SPVARIETY ที่ถูกต้องท่านควรใช้ IE8 Firefox & Google Chrome

Download Browsing Click Here

This page is optimized for IE8 Firefox & Google Chrome

บันทึกเหตุการณ์หลังสิ้นเสียง"ปืน-ระเบิด" เปิดรายชื่อผู้เสียชีวิตตั้งแต่ "10 เม.ย.-19พ.ค."

|

หลังจากที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) หรือ กลุ่มคนเสื้อแดง รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมจนถึงวันที่ 20 พฤษาคม พ.ศ.2553 รวมเวลา 59 วัน เริ่มตั้งเวทีชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศและย้ายมาชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์ ภายใต้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง ที่ควบคุมโดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 7 เมษายน จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจเข้าสลายการชุมนุมเพื่อขอพื้นที่คืนเมื่อวันที่ 10 เมษายน มีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มีผู้บาดเจ็บ 864 คน เสียชีวิตกว่า 26 ราย เป็นพลเรือน21 ราย เจ้าหน้าที่ 5 นาย ก่อนที่ทั้งสองฝ่ายจะประกาศยุติปฏิบัติการ


จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมตัดสินใจสลายเวทีผ่านฟ้าไปรวมกับเวทีราชประสงค์ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายนเพื่อกดดันรัฐบาลโดยอาศัยพื้นที่ใจกลางเมืองเป็นที่ชุมนุมใหญ่ซึ่งรัฐบาลโต้กลับโดยมาตรการส่งกำลังทหารตำรวจเข้ากระชับวงล้อมในพื้นที่ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคมมีการปะทะกันอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม มีการขอพื้นที่คืนเกิดการปะทะกันอย่างต่อเนื่องทำให้มีคนบาดเจ็บเกือบ 471 คน เสียชีวิต 59 ราย เป็นพลเรือน 58 ราย เจ้าหน้าที่ทหาร 1 นาย


ย้อนเหตุการณ์ตั้งแต่กลุ่มผู้ชุมนุมเข้าปักหลักที่สะพานผ่านฟ้าเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายมีระเบิดเกิดขึ้นหลายจุดก่อนจะมีการสลายการชุมนุม เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคมถึงวันที่ 7 เมษายน มีเหตุยิงระเบิด เอ็ม 79 ยิงจรวดอาร์พีจี ลอบวางระเบิด เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมผู้บาดเจ็บก่อนเกิดเหตุการณ์สลายการชุมนุม 10 เมษายน มีผู้บาดเจ็บที่เป็นเจ้าหน้าที่ 13 ราย ประชาชน 7 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต


เหตุการณ์หลังจากเหตุการณ์ขอพื้นที่คืนในวันที่ 10 เมษายน ผ่านไปเพียงแค่ 10 กว่าวันหลังเหตุการณ์นองเลือด เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน มีเหตุระเบิดเกิดขึ้นที่ศาลาแดงซึ่งมีกลุ่มคนหลากสีและกลุ่มที่ใช้ชื่อว่าชาวสีลมนัดรวมตัวกันขึ้นมาต่อต้านการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง มีผู้บาดเจ็บ 79 คนเสียชีวิต 1 ราย วันที่ 25 เมษายน เกิดเหตุระเบิดที่ซอยจรัฐ 35 มีผู้บาดเจ็บ 11 รายเป็นพลเรือน 8 ราย ทหาร 3 นาย กระทั่งวันที่ 28 เมษายน ที่อนุสรณ์สถานมีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงกับเจ้าหน้าที่มีผู้บาดเจ็บ 19 ราย เป็นพลเรือน 16 คน เจ้าหน้าที่ 3 นายและมีทหารเสียชีวิต 1 นาย


วันที่ 7-8 พฤษาคมมีเหตุยิง-ระเบิดที่บริเวณรถไฟฟ้าบีทีเอส-แยกถนนพระรามที่ 4 มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 13 ราย เป็นเจ้าหน้าที่ 11 นาย พลเรือน 2 ราย เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 2 ราย


กระทั่งวันที่ 13 พฤษภาคม มีเหตุลอบยิงพล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบกเสียชีวิตในเวลาต่อมา วันเดียวกันมีผู้ชุมนุมกว่า 21 รายถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลหลังจากดื่มกาแฟผสมยานอนแบบรุนแรงและมีผู้เสียชีวิต 1 ราย ก่อนรัฐบาลสั่งเจ้าหน้าที่ทหารกระชับวงล้อมพื้นที่การชุมนุมเกิดการปะทะหลายจุดมีผู้บาดเจ็บ 44 คน เสียชีวิต 3 ราย และรัฐบาลประกาศขอพื้นที่คืนวันที่ 19 พฤษภาคม


ศุนย์บริการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร(ศูนย์เอรวัณ) ได้สรุปตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตนับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคมถึงวันที่ 19 พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิต 88 คน บาดเจ็บ1,885 คน ยังมีผู้รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 217 คน ในจำนวนนี้อยู่ในห้องไอซียู 17 คน



กรมสุขภาพจิตเปิดเผยว่าครอบครัวผู้เสียชีวิตเสี่ยงโรคซึมเศร้าโรคเครียดรุนแรง นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากการลงพื้นที่เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การชุมนุมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) และปริมณฑล พบข้อมูลที่น่าเป็นห่วงคือ ในกลุ่มครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งมีอยู่ 88 ครอบครัว ทางกรมสุขภาพจิตได้ลงพื้นที่เยียวยาไปแล้ว 43 ครอบครัว พบว่าประมาณ ร้อยละ 80 มีปฏิกิริยาทางอารมณ์ จิตใจ มีความหดหู่ เศร้าเสียใจ ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงที่จะนำไปสู่การเกิดภาวะซึมเศร้า ส่วนที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 20 มีภาวะโกรธแค้น เครียด ซึ่งมีโอกาสจะนำไปสู่โอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคเครียดรุนแรงจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ หรือ "PTSD" (Post traumatic stress disorder) อย่างไรก็ตาม หลังจากลงพื้นที่เยียวยาครบทั้ง 88 ครอบครัวแล้ว จะต้องมีการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงที่จะมีโอกาสเกิดทั้งสองโรคดังกล่าวอย่างใกล้ชิดด้วย


"สิ่งที่ต้องระวังเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า และโรคเครียดรุนแรง คือ มีโอกาสนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ โดยในกลุ่มที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีโอกาสสูงกว่า ซึ่งการที่ประชาชนจะกลับเข้าสู่ภาวะจิตใจปกติได้ก็ต้องใช้เวลาประมาณ1-3 เดือน แต่หากมีการเยียวยาก็จะทำให้กลับสู่ภาวะจิตใจปกติเร็วขึ้น ดังนั้นในช่วงระยะนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเยียวยาจิตใจ และเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยง ขณะที่ในกลุ่มญาติ หรือเพื่อนของครอบครัวผู้ที่เสียชีวิตก็สามารถช่วยเยียวยาจิตใจได้เช่นกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องช่วยกันดูแล ส่วนในกลุ่มผู้ที่ได้รับบาดเจ็บนั้น ทางกรมสุขภาพจิตได้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียวยาจิตใจแล้วประมาณ 340 ราย จาก 1,902 ราย พบว่าจะมีปฏิกิริยาทางด้านจิตใจประมาณ ร้อยละ 20 ซึ่งพบว่าน้อยกว่ากลุ่มครอบครัวที่มีผู้เสียชีวิตมาก เพราะกลุ่มครอบครัวผู้ที่เสียชีวิตจะมีปัญหาที่ซับซ้อนเยอะมาก ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการที่ผู้นำครอบครัวต้องมาเสียชีวิตไปจากเหตุการณ์ดังกล่าว จึงทำให้เกิดผลกระทบทางด้านจิตใจมาก สำหรับการเยียวยาในพื้นที่ภูมิภาค 23 จังหวัดที่มีการประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉินนั้น ขณะนี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมผู้ที่ได้รับผลกระทบแต่ละพื้นที่แล้ว คาดว่าจะมีการรายงานผลเบื้องต้นในการประชุมคณะผู้บริหาร สธ.วันที่ 7 มิถุนายนนี้" นพ.วชิระ กล่าว


รายชื่อผู้เสียชีวิตที่สามารถรวบรวมได้ในขณะนี้



เหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน





โรงพยาบาลหัวเฉียว

1.นายอำพล ตติยรัตน์ อายุ 43 ปี พลเรือน ถูกยิงบริเวณศรีษะ
2. นายยุทธนา ทองเจริญพลพร อายุ 23 ปี พลเรือน ถูกยิงบริเวณศรีษะ
3. นายไพศล ทิพย์ลม อายุ 37 ปี พลเรือน กระโหลกขวายุบ


โรงพยาบาลกลาง


4. นายสวาท วางาม อายุ 43 ปี พลเรือน มีแผลที่หน้าผากขนาดใหญ่เสียชีวิตก่อนถึงรพ.
5. Mr.Hiroyuki Muramoto อายุ - พลเรือน มีแผลที่ราวนมซ้ายลึก เสียชีวิตก่อนถึงรพ.
6. นายธวัฒนะชัย กลัดสุข อายุ 36 ปี พลเรือน หยุดหายใจก่อนถึงรพ.และมีบาดแผลที่ต้นขาซ้าย
7. นายทศชัย เมฆงามฟ้า อายุ 44 ปี พลเรือน หยุดหายใจก่อนถึงรพ.และมีบาดแผลที่อกซ้าย
8. นายจรูญ ฉายแม้น อายุ 46 ปี พลเรือน เสียชิวิตก่อนถึงรพ. แผลสะบักขวา 1.0x1.5 cm.
9. นายวสันต์ ภู่ทอง อายุ 39 ปี พลเรือน มีแผลเปิดที่กะโหลก ศีรษะและใบหน้าเสียชิวิตก่อนถึงรพ.
10. ชายไทยไม่ทราบชื่อ อายุ - ปี พลเรือน เป็นแผลลึกที่สะบักขวา เสียชิวิตก่อนถึงรพ.
11. นายมลชัย แซ่จอง อายุ 54 ปี พลเรือน เสียชีวิตจากการถูกแก๊สน้ำตาทำให้ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว
12.นายอนันต์ สิริกุลวาณิชย์ อายุ 54 ถูกยิงที่ต้นคอ



โรงพยาบาลวชิระพยาบาล



13. นางคะนึง ฉัตรเท พลเรือน
14. นายเกรียงไกร คำน้อย อายุ 23 ปี พลเรือน ถูกยิง
15. ส.ท.ภูริวัฒน์ ประพันธ์ สังกัด ร้อย สห.พล.ร2
16. ส.ต.อนุพงษ์ เมืองอำพันธ์ สังกัด ร12 พัน2


โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ


17. พลทหาร สิงห์หา อ่อนทรง สังกัด ร.12 พัน2 รอ.
18. พ.อ.ร่มเกล้า ชุวธรรม อายุ - ปี ทหาร


โรงพยาบาลศิริราช


19. นายบุญธรรม ทองผุย อายุ - ปี พลเรือน
20. นายสมศักดิ์ แก้วสาน อายุ 34 ปี พลเรือน


โรงพยาบาลราชวิถี



21.นายเทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์ อายุ 29 ปี พลเรือน


โรงพยาบาลรามาธิบดี


22. ชายไทยไม่ทราบชื่อ อายุ 50 ปี ถูกยิงที่ขาหนีบซ้าย เสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาลรามาธิบดี
23.พลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาระ เสียชีวิตที่เหตุปะทะอนุสรณ์สถาน(ดอนเมือง) (28 เม.ย.)



รายชื่อผู้เสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 13 -19 พฤษภาคม


1.พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผลหรือเสธแดง ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพ
2. นายอินแปลง เทศวงศ์ อายุ 32 ปี โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 1
3.นายประจวบ ศิลาพันธ์ รพ.ตำจรวจ
4.นายปิยะพงษ์ กิติวงศ์ อายุ 32 ปี รพ.ตำรวจ
5. นายสมศักดิ์ ศิลารักษ์ อายุ 28 ปี รพ.ตำรวจ
6.น.ส.สัญธะนา สรรพศรี อายุ 32 ปี รพ.พญาไท 1
7.ชายไทยไม่ทราบชื่อ รพ.พญาไท 1
8. นายพัน คำกอง รพ.พญาไท 1
9. นายมนูญ ท่าลาด อายุ 40 ปี รพ.พญาไท 1
10.นายชัยยันต์ วรรณจักร อายุ 20 ปี รพ.พระมงกุฏเกล้า
11.นายเหิน อ่อนสา อายุ 39 ปี
12.นายธันวา วงศ์ศิริ อายุ 26 ปี รพ.ราชวิถี
13.นายกิตติพันธ์ ขันทอง อายุ 26 ปี รพ.ราชวิถี
14.นายทิพเนตร เจียมพล อายุ 32 ปี รพ.ราชวิถี
15.นายสรไกร ศรีเมืองปุน อายุ 34 ปี รพ.ราชวิถี
16.นายบุญทิ้ง ปานศิลา อายุ 25 ปี รพ.รามาธิบดี
17.นายสุภชีพ จุลทรรศน์ อายุ 36 ปี รพ.ราชวิถี
18.นายมานะ แสงประเสิรฐ์ศรี อายุ 25 ปี รพ.เลิดสิน
19.นายอำพล ชื่นสี อายุ 25 ปี รพ.รามาธิบดี
20.นายสมาพันธ์ ศรีเทพ อายุ 17 ปี รพ.รามาธิบดี
21.นายอุทัย อรอินทร์ อายุ 35 ปี รพ.รามาธิบดี
22.นายชาญณรงค์ พลศรีลา รพ.พญาไท
23.นายวารินทร์ วงศ์สนิท อายุ 28 ปี รพ.ราชวิถี
24.นายพรสวรรค์ นาคะไชย อายุ 23 ปี รพ.เลิดสิน
25.นายสมชาย พระสถพรรณ อายุ 43 ปี รพ.เลิดสิน
26.นายเกียรติคุณ ฉัตรวีระสกุล รพ.เจริญกรุงฯ
27.นายประจวบ ประจวบสุข อายุ 42 ปี รพ.เจริญกรุงฯ
28.นายเกรียงไกร เลื่อนไธสง อายุ 25 ปี รพ.เลิดสิน
29.นายวงศกร แปลงศรี อายุ 40 ปี รพ.เลิดสิน
30.นายสุพรรณ์ ทุมทอง อายุ 49 ปี รพ.รามาธิบดี
31.นายธนากร ปิยะผลดิเรก อายุ 50 ปี รพ.รามาธิบดี
32.ชายไทยไม่ทราบชื่อ รพ.กล้วยน้ำไท 1
33.นายเฉลียว ดีรื่นรัมย์ อายุ 27 ปี รพ.กล้วยน้ำไท 1
34.จ่าอากาศเอกพงศ์ชลิต พิทยานนทกาญจน์ อายุ 31 ปี
35.นายสุพจน์ ยะทิมา อายุ 37 ปี รพ.ตำรวจ
36.นายสมพาน หลวงชม อายุ 35 ปี รพ.ทหารผ่านศึก
37.นายออง ลวิน หรือมูฮัมหมัด อาลี อายุ 35 ปี รพ.ทหารผ่านศึก ชาวพม่า
38. Mr.Fabio Polenghi อายุ 48 ปี รพ.ตำรวจ ชาวอิตาลี
39.นายถวิล คำมูล อายุ 36 ปี รพ.รามาธิบดี
40.หญิงไม่ทราบชื่ รพ.ราชวิถี
41.ชายไทยไม่ทราบชื่อ รพ.รามาธิบดี
42.นายธนโชติ ชุ่มเย็น รพ.ตำรวจ
43.ส.อ.อนุสิทธิ์ จันทร์แสนคอ
44.นายปรัชญา แซ่โค้ว อายุ 21 ปี รพ.เปาโลฯ
45.นายอัครเดช ขันแก้ว อายุ 22 ปี รพ.ตำรวจ
46.นายมงคล เข็มทอง อายุ 37 ปี รพ.ตำรวจ
47.น.ส.กมนเกด อัคฮาด อายุ 25 ปี รพ.ตำรวจ
48. นายวิชัย มั่นแพ อายุ 61 ปี รพ.ตำรวจ
49.นายอัฐชัย ชุ่มจันทร์ อายุ 28 ปี รพ.ตำรวจ
50.ชายไทยไม่ทราบชื่อ รพ.ตำรวจ
51.นายนรินทร์ ศรีชมภู รพ.ตำรวจ
52.น.ส.วาสินี เทพปาน รพ.รามาธิบดี
53.นายเยื้อน โพธิ์ทองคำ อายุ 60 ปี รพ.รามาธิบดี
54นายกิตติพงษ์ สมสุข อายุ 20 ปี
55.ส.ต.ท.กานต์นุพันธ์ เลิศจันทร์เพ็ญ เจ้าหน้าที่จร. เข้าเวรปจ. สน.ทุ่งมหาเมฆ
56.จ.ส.ต.วิทยา พรหมสาลี
56.น.ส.ธัญญานัน แถบทอง ศพอยู่ที่ รพ.จุฬาฯ
57.นายปลั๊ก (ไม่ทราบนามสกุล)
58.นายสมร ไหมทอง
58.นายชาติชาย ชาเหลา เสียชีวิตจากการดื่มกาแฟผสมยานอนหลับแบบรุนแรง
59.นายสมัย ทัดแก้ว
60.นายเสน่ห์ นิลเหลือง อายุ 48 ปี เสียชีวิตที่โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 1

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1275550757&grpid=01&catid=

0 ความคิดเห็น:

search

search this site the web
search engine by freefind

ฝากไฟล์

YOUR IP