เพื่อการแสดงผลหน้าเว็ป SPVARIETY ที่ถูกต้องท่านควรใช้ IE8 Firefox & Google Chrome

Download Browsing Click Here

This page is optimized for IE8 Firefox & Google Chrome

กว่าจะเป็น ก เอ๋ย ก ไก่

|

เพลง ก.เอ๋ย ก.ไก่



Thai Alphabet ( ก เอ๋ย ก ไก่ )



กว่าจะเป็น ก เอ๋ย ก ไก่

นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 720 ปี มาแล้วที่เราคนไทยมีอักษรไทยไว้ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารแทนคำพูด ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 1826 ดังหลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึก โดยรูปแบบอักษรเป็นลายสือไทยที่ดัดแปลงมาจากอักษรขอมและมอญโบราณ ทั้งนี้ยังไม่มีการตั้งชื่อกำกับในพยัญชนะภาษาไทย เป็นเพียงการออกเสียงพยัญชนะที่คล้ายคลึงกับปัจจุบัน เช่น กอ ขอ คอ เป็นต้น

การตั้งชื่อพยัญชนะในภาษาไทยไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้คิดขึ้นเป็นคนแรก จากหลักฐานเท่าพบในปัจจุบันสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2378 ที่มีการเล่นหวยขึ้นเป็นครั้งแรก แล้วมีการนำพยัญชนะไปกำกับตัวหวย เรียกกันว่า "หวย ก ข" ทำให้พยัญชนะภาษาไทยมีคำกำกับหวย ดังนี้ก สามหวย
ฅ ฮะตั๋ง
จ หลวงชี
ญ ย่องเซ็ง
ท เซี่ยงเจียว
ป กังสือ
ฟ เกากัว
ร กิมเง็ก
ห หม้งหลิม
ข ง่วยโป๊
ฆ ยี่ซัว
ช ฮกชุน
ด กวงเหม็ง
ธ ไท้เผ็ง
ผ เอียวหลี
ภ คุณซัว
ล เทียนเหลียง
ฬ ง่วนกิ้ด ฃ เจียมขวย
ง จีเกา
ซ แชหงวน
ต เรือจ้าง
น เทียนสิน
ฝ ง่วนกุ่ย
ม หุนหัน
ว แชหุน
อ บ้วนกิม ค เม่งจู
ูฉ ขายหมู
ฌ ฮวยกัว
ถ พันกุ้ย
บ แจหลี
พ กิ๊ดปิ๊น
ย ฮ่องชุน
ส ฮะไฮ้
ฮ เจี๊ยะสูน


ต่อมาปี พ.ศ. 2420 พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ขณะนั้นเป็นครูสอนในโรงเรียนหลวงได้เขียนเรื่อง "วิธีสอนหนังสือไทย" ลงในหนังสือมิวเซียม เล่ม 2 จ.ศ. 1239 ได้คิดคำกำกับชื่อพยัญชนะขึ้นใหม่ เพื่อสอนนักเรียนให้สามารถออกเสียงพยัญชนะได้ง่าย โดยคิดเฉพาะพยัญชนะที่มีเสียงพ้องกัน 27 ตัว คือ ข ฃ ค ฅ ฆ ช ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น พ ภ ย ร ล ฬ เช่น ข ขัดข้อง, ฃ อังกุษ, ค คิด, ฅ กัณฐา, ฆ ระฆัง, ช ชื่อ, ฌ ฌาน เป็นต้น ส่วนพยัญชนะที่ยังไม่มีคำกำกับอีก 15 ตัว คือ พยัญชนะที่ไม่มีเสียงซ้ำซ้อนและพยัญชนะ ศ ษ ส

คำกำกับชื่อพยัญชนะในภาษาไทยมีครบทั้งหมด 44 ตัว เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2442 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งที่ทรงดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมธรรมการ ได้ทรงพระนิพนธ์หนังสือแบบเรียนเร็วขึ้นจำนวน 3 เล่ม โดยในแบบเรียนเร็ว เล่ม 1 ตอนต้น ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ร.ศ. 119 เป็นฉบับที่เริ่มลงคำกำกับพยัญชนะ ก ไก่ ข ไข่ ฃ ฃวด ค ควาย ฅ ฅน ไปจนถึง ฮ นกฮูก ซึ่งในการแต่งแบบเรียนเร็วนี้ เพื่อให้นักเรียนเรียนจบได้ภายใน 6 เดือนต่อปีการศึกษาหนึ่งๆ แทนการใช้แบบเรียนหลวง "มูลบทบรรพกิจ" ที่ต้องใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่าหนึ่งปีจึงจะจบหมดทั้งเล่ม

ต่อมามีผู้คิดดัดแปลงเรียกเสียงพยัญชนะทั้ง 44 ตัว ให้มีชื่อหรือตัวอย่างที่ใช้คู่กันเพื่อให้ท่องจำได้ง่าย ในยุคหนึ่งเมื่อเริ่มเรียนหนังสือ เราทุกคนจะท่อง ก ไก่คำกลอน ซึ่งมีที่มาจากหนังสือ ก ไก่ ฉบับประชาช่าง จนติดปากกันมาและยังจำได้ขึ้นใจจนถึงทุกวันนี้ว่า
ก เอ๋ย ก ไก่
ฅ ฅน ขึงขัง
ฉ ฉิ่ง ตีดัง
ญ หญิง โสภา
ฑ นางมณโฑหน้าขาว
ต เต่า หลังตุง
น หนูขวักไขว่
ฝ ฝา ทนทาน
ม ม้า คึกคัก
ว แหวน ลงยา
ห หีบใส่ผ้า
ข ไข่ ในเล้า
ฆ ระฆัง ข้างฝา
ช ช้าง วิ่งหนี
ฎ ชฎา สวมพลัน
ฒ ผู้เฒ่า เดินย่อง
ถ ถุง แบกขน
บ ใบไม้ ทับถม
พ พาน วางตั้ง
ย ยักษ์ เขี้ยวใหญ่
ศ ศาลาเงียบเหงา
ฬ จุฬาหน้าผยอง ฃ ฃวด ของเรา
ง งู ใจกล้า
ซ โซ่ ล่ามที
ฏ ปฏัก หุนหัน
ณ เณรไม่มอง
ท ทหาร อดทน
ป ปลา ตากลม
ฟ ฟัน สะอาดจัง
ร เรือ พายไป
ษ ฤษีหนวดยาว
อ อ่าง เนืองนอง
ค ควาย เข้านา
จ จาน ใช้ดี
ฌ กะเฌอ คู่กัน
ฐ ฐาน เข้ามารอง
ด เด็ก ท่องนิมนต์
ธ ธง คนนิยม
ผ ผึ้งทำรัง
ภ สำเภา กางใบ
ล ลิง ไต่ราว
ส เสือ ดาวคะนอง
ฮ นกฮูก ตาโต


เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป พยัญชนะ ฃ และ ฅ ถูกยกเลิกใช้ และวิธีการท่องจำพยัญชนะของเด็กรุ่นใหม่ยังแตกต่างไปในแต่ละโรงเรียนอีกด้วย แต่ทั้งนี้ยังมีบทกวีอีกบทหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับพยัญชนะไทยของเรา เรื่อง "ก ก่อ ขอ เขียน" ของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) ประจำปี พ.ศ. 2536 ดังนี้
ข ไข่ไปเขียน
ค ควายไปนา
ฆ ระฆังดังก้อง

ฉ ฉิ่งฉาบชัย
ซ โซ่ร้อยสร้อย
ญ หญิงงามลออ

ฐ ฐานตั้งถิ่น
ฒ เฒ่าไหว้เถร
ด เด็กยังเยาว์

ท ทหารมีธรรม
น หนูสร้างรัง
ป ปลาสร้างท่า

พ พานพัวพัน
ภ สำเภาสินค้า
ย ยักษ์ลักล้วง

ว แหวนเกลี้ยงเกลา
ษ ฤๅษีตาไฟ
ห หีบห่วงห้อย

ฮ นกฮูกอยู่โพรง
สี่สิบสี่พยัญชนะ
คำไทยใครทำ ๏ ก ไก่ไปเรียน
ฃ ฃวดขายของ
ฅ ฅนน่ามอง
ง งูชูคอ
๏ จ จานจอใจ
ช ช้างยืนรอ
ฌ เฌอช้อยช่อ
ฎ ชฎาเกี้ยวเกล้า
๏ ฏ ปฏักปักดิน
ฑ มณโฑอยู่เหย้า
ณ เณรพระเจ้า
ต เต่าเข้านา
๏ ถ ถุงทองคำ
ธ ธงนำหน้า
บ ใบไม้สร้างป่า
ผ ผึ้งสร้างรวง
๏ ฝ ฝาใฝ่ฝัน
ฟ ฟันดาบควง
ม ม้าหมอกม่วง
ร เรือล่องลอย
๏ ล ลิงหลอกเจ้า
ศ ศาลาเฝ้าคอย
ส เสือลายพร้อย
ฬ จุฬาลอยลำ
๏ อ อ่างข้างโอ่ง
จงท่องจงจำ
เสียงสูงกลางต่ำ
จดจำจดใจ ฯ


วิธีการท่องจำพยัญชนะที่แตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัยนั้นไม่ได้มีกฎเกณฑ์ใดเป็นหลักบังคับใช้ที่แน่นอน หากขึ้นอยู่กับวิธีการที่จะทำให้ผู้เรียนจดจำได้ง่าย สิ่งสำคัญคือ การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องของเราคนไทยทุกคนที่จะเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ในการอนุรักษ์ภาษาไทยของเราให้คงอยู่สืบไปจนถึงชนรุ่นหลัง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://thailang.hum.ku.ac.th/thaihome/culture01.htm

0 ความคิดเห็น:

search

search this site the web
search engine by freefind

ฝากไฟล์

YOUR IP