เพื่อการแสดงผลหน้าเว็ป SPVARIETY ที่ถูกต้องท่านควรใช้ IE8 Firefox & Google Chrome

Download Browsing Click Here

This page is optimized for IE8 Firefox & Google Chrome

ปฐมบทการปิดตำนาน 60 ปี 'ปชป.' พรรคเก่าที่สุดในประเทศไทย…?



ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ต้องจารึกเอาไว้ว่า เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 53 เวลาประมาณ 18.00 น.พรรคการเมือง ซึ่งมีความเก่าแก่มากที่สุดประวัติศาสตร์ประเทศไทยได้ถูกคณะกรรมการเลือกตั้ง หรือ กกต. ลงมิติเสียงข้างมากให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ กับข้อหารับเงินเงินบริจาค 258 ล้านจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ผ่านบริษัทเมซไซอะ จำกัด จำนวน 258 ล้านบาทเป็นการพลิกโฉมหน้าของการเมืองไทยครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้ง...

ประวัติความเป็นมา 4 ยุค ของพรรคระดับตำนานประเทศไทย

จากการเข้าไปค้นประวัติของพรรคประชาธิปัตย์ในเว็บไซต์พบว่า พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดที่มีการก่อตั้งก่อนที่จะมีพระราช บัญญัติพรรคการเมืองโดยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2489 โดยมี นายควง อภัยวงศ์ เป็น หัวหน้าพรรคคนแรกและ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ได้ดำเนินการต่อสู้ทางการเมืองใน ระบอบประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องซึ่งพอจะจำแนกออกได้เป็น 4 ยุค กล่าวคือ

ยุคที่หนึ่ง (2489-2501)

ยุคแห่งการสร้างพรรค และสร้างประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการ ในระยะต้นสภาพการเมืองของประเทศไทยมีความผันผวนเนื่องจากอยู่ใน ระหว่าง การเริ่มต้น การดำเนินงานทางการเมืองอยู่ในวงแคบพรรคประชาธิปัตย์ได้มีการดำเนินการ ทางการเมืองที่ สำคัญสรุปได้ดังนี้
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐบาลรับเชิญของคณะรัฐประหาร พ.ศ 2490
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาลแห่งกลุ่มจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์

ระหว่างปี 2501-2511 บทบาททางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ได้หยุดชั่วคราว เมื่อ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครอง และเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จในปี 2501

ยุคที่สอง (2511-2519)

ยุคแห่งการฟื้นฟูพรรค และเชิดชูประชาธิปไตย ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 ทางพรรคฯได้มีการ ดำเนินการทางการเมืองที่สำคัญดังนี้
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาล จอมพล ถนอม กิตติขจร
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นฝ่ายค้านรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2519

ยุคที่สาม (2522-2533)

ยุคแห่งการปรับปรุงนโยบาย และเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมือง ในปี พ.ศ. 2521 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 22 เมษายน 2522 นับเป็นการเข้าสู่ยุคที่สามทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งทางพรรคฯ ได้มีการดำเนินการทางการเมืองที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (1, 2, 3, 4, 5)
• ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

ยุคที่สี่ (ปลายปี 2533-ปัจจุบัน)

ยุคแห่งการเป็นรัฐบาลของประชาชนและฝ่ายค้านที่มี ประสิทธิภาพ ในวันที่ 12 ธันวาคม 2533 พรรคประชาธิปัตย์ ได้ประกาศถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลพลเอกชาติชายชุณหะวัณ ซึ่งหลังจากนั้นได้เกิดผันแปรทางการ เมืองอย่างรุนแรงนำ มาถึงเหตุการณ์ยึดอำนาจของ“คณะ รสช.” และเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ในที่สุด ท่ามกลางวิกฤติการทางการเมืองในยุคที่สี่นี้พรรคประชาธิปัตย์ได้เข้ามามี บทบาทในการ ต่อต้านเผด็จการเคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชนจนกระทั่งเหตุการณ์สงบ และนำไป สู่การเลือกตั้งในเดือนกันยายน 2535 ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้รับชัยชนะขาวสะอาดมี ส.ส ได้รับเลือกตั้ง มากที่สุดเป็นจำนวน 79 คน และได้เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ดำเนินการบริหารบ้านเมือง มาเป็นระยะเวลา 2 ปีครึ่ง

จนมาถึงกลางปี 2538 ซึ่งมีเหตุการณ์พลิกผันทางการเมืองจน นำมาสู่ การยุบสภาทำให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 กรกฏาคม 2538 ซึ่งสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็น ส.ส 86 คน และดำเนินการทางการเมืองเป็นฝ่ายค้านรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา ซึ่งทางพรรคได้พิสูจน์ถึงการเป็นพรรคฝ่ายค้านที่มีประสิทธิภาพต่อสู้กับการ ปกครองประเทศที่ไม่โปร่งใส จนในที่สุด นายบรรหาร ศิลปอาชา ต้องประกาศ ยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539

ภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคการเมืองบางพรรครวมทั้งพรรคพลัง ประชาชน ซึ่งเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ส่งผลให้ต้องมีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ กลุ่มการเมืองบางกลุ่มที่เคยสนับสนุนพรรคพลังประชาชนได้หันมาร่วมกับพรรค ประชาธิปัตย์ ทำให้ นายอภิสิทธิ์ ได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่ในสภาผู้แทนราษฏร และได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 ขณะนั้นเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยเริ่มถดถอยอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก และปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมืองภายในประเทศ

จากการดำเนินการทางการเมืองที่ต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 63 ปี พรรคประชาธิปัตย์ ได้ต่อสู้ กับระบอบเผด็จการเดิมมาในหลายยุคสมัยบางครั้งแสดงบทบาทในฐานะพรรคฝ่ายค้าน บางครั้งแสดงบทบาทในฐานะฝ่ายรัฐบาล แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีบทบาทและฐานะอย่างไร ในการต่อสู้ ทางการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ยังคงยึดมั่นการดำเนินการทางการเมืองในระบอบประ ชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ยึดถืออุดมคติ 4 ประการของพรรค ยืนหยัดพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่และมุ่งมั่นสร้างสังคมที่เป็น ธรรมให้บังเกิดขึ้น ด้วยจิตใจ และการอุทิศตัวในหลักการแห่งความซื่อสัตย์สุจริต

พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองเดียวที่เป็นสถาบันการเมืองอย่างแท้จริง ไม่มีนายทุนเป็นเจ้าของ แต่เป็นของประชาชนและผู้ร่วมอุดมการณ์ที่เสนอตัวเข้ามารับใช้ ประชาชน ปัจจุบันพรรคมีสมาชิก กว่า 2,860,000 คน ณ เดือนก.ย.2552

และแม้ว่ากระบวนการในการตัดสินยุบพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งจะส่งเอกสารประกอบการลงมติของกรรมการการเลือกตั้งให้กับสำนักงานอัยการสูงสุดภายใน 30 วัน หลังจากนั้นอัยการสูงสุดจะทำการพิจารณาเอกสารพร้อมส่งสำนวนให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตัดสินต่อไป ส่วนระยะเวลานั้นขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของอัยการสูงสุดและศาลรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ดี ปฐมบทที่ว่านี้ก็ถือว่าเป็นสัญญาณของการปิดตำนานของพรรคการเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่ "ช็อก" คนไทยทั้งประเทศ...?


มือเปื้อนเลือดจนได้!



อภิสิทธิ์

ลางบอกเหตุมาก่อนเลย

ตั้งแต่ช่วงสายของวันที่ 10 เมษายน ระหว่างที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบนำหมายจับแกนนำบุกเข้าไปกลางวงผู้ชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงที่เวทีราชประสงค์ เกิดเหตุชุลมุนทำให้พระพุทธรูปสีแดงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของกองทัพ นปช.

หล่นลงมาแตก หักออกเป็น 2 ท่อน

ตามปรากฏการณ์ไม่ใช่ฤกษ์ดีแน่นอน

แล้วก็ดังคาด "นาทีเลือดเดือด" บ่ายโมงกว่าๆ กองทัพเสื้อแดงที่เวทีสะพานผ่านฟ้าฯ เคลื่อนขบวนปิดล้อมกองทัพภาคที่ 1 ถนนราชดำเนิน หลังแว่วข่าวทหารเตรียมเคลื่อนกำลังสลายกลุ่มผู้ชุมนุม ยึดคืนพื้นที่เวทีสะพานผ่านฟ้าฯ

จุดเริ่มการปะทะ ทหารฉีดน้ำไล่กลุ่มผู้ชุมนุม ตามด้วยการยิงแก๊สน้ำตา กระสุนยาง เพิ่มระดับการลุยแรงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมที่อยู่ในอารมณ์เตลิดเปิดเปิงไม่กลัวตาย วิ่งเข้าหาทหาร

สัญญาณมัจจุราชเตือนแล้ว

และความจริงที่มีหลักฐานยืนยันได้ ในห้วงนาทีหัวเลี้ยวหัวต่อ จังหวะที่ทหารรุกคืบมาจ่อประจันหน้ากับกลุ่มผู้ชุมนุมที่สี่แยกคอกวัว ในช่วงฟ้าใกล้มืดสลัว นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้ขึ้นเวทีที่สะพานผ่านฟ้าฯ ปราศรัยดังๆ

เตือนไปถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ "บิ๊กป๊อก" พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ให้ยุติการปฏิบัติการ ไว้รอตอนรุ่งสางค่อยว่ากัน

เพราะหากมีการสลายกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีเป็นจำนวนมากในเวลามืดค่ำ โดยความสุ่มเสี่ยงจะไม่สามารถควบคุมความเสียหายที่เกิดขึ้นได้

กระตุก "อภิสิทธิ์" อยู่บนทางสองแพร่งที่ยังมีโอกาสเลือก ทางหนึ่งเดินไปสู่การยุบสภา แล้วกลับมาเป็นนายกฯใหม่ หรือถึงไม่ได้ ก็ยังอยู่ในวิสัยนักการเมืองที่ต้องกลับคูหาเลือกตั้งไปหาประชาชน กับอีกทางเลือกหนึ่งเดินหน้าปราบประชาชนคนเสื้อแดง แล้วเกิดความสูญเสียเลือดเนื้อ คนชื่อ "อภิสิทธิ์" ก็จะถูกประทับตราเป็นทรราชที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

มือมวลชนคนเดือนตุลาฯ เตือนแล้ว แต่ไม่มีปฏิกิริยาตอบกลับจากฝ่ายถืออำนาจ

หลังจากนั้นไม่กี่อึดใจก็เริ่มยุทธการตะลุมบอน ก่อนที่สิ้นเสียงปืน เสียงระเบิด กลิ่นคาวเลือดคลุ้ง ไล่นับตัวเลขจนถึงเย็นวันที่ 11 เมษายน ผู้เสียชีวิต 20 ราย บาดเจ็บอีกกว่า 800 คน

กงล้อประวัติศาสตร์ไม่สามารถหนีอาถรรพณ์การเมืองไทยต้องเซ่นด้วยเลือด

ไม่ว่าจะยังไง โดยความรับผิดชอบของผู้นำประเทศที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจฯ ตัดภาพ "อภิสิทธิ์" นั่งแถลงเพียงลำพังหลังเกิดเหตุปะทะนองเลือด โดยไม่มีขุนทหารนั่งขนาบข้างแต่อย่างใด ในบทแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิตพอเป็นพิธี

แล้วก็วกเข้าสไตล์เก่า "เล่าความข้างเดียว"

ต้องยอมรับว่า ความสูญเสียส่วนหนึ่งมาจากกลุ่มผู้ชุมนุมที่พกพาอาวุธ และมีการทำร้ายเจ้าหน้าที่ทหารที่เน้นการยิงขึ้นฟ้า และตอบโต้ในจังหวะจวนตัว

แต่ไม่พูดถึงว่า การที่ทหารพกอาวุธสงคราม ปืนเอ็ม 16 พร้อมกระสุนจริงเข้าไปในการสลายกลุ่มผู้ชุมนุม ตามหลักสากลมีที่ไหนในโลกเขาทำกัน

เพราะมันเท่ากับว่า ตั้งท่าเตรียมเล่นของหนักกับกลุ่มผู้ชุมนุมมาตั้งแต่ต้น โดยการบัญชาการของรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

และยังมีปมที่ฟันธงไม่ได้ กับระเบิดเอ็ม 79 ที่ยิงเข้าใส่กลุ่มทหาร โดยการแถลงของ พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น. ที่นำ ด.ต.วิชิต สันติสิทธิมนต์ทอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน บก.น.6 ที่ไปแทรกซึมป้องกันเหตุในกลุ่มผู้ชุมนุม มายืนยัน เห็นชายฉกรรจ์คนหนึ่งสวมเสื้อและกางเกงสีดำ คลุมไอ้โม่งบังใบหน้าเห็นแต่เพียงลูกตา ถืออาวุธปืนเอ็ม 79 แนบลำตัว พร้อมยิงเข้าไปในจุดที่มีการปะทะกัน

จึงเข้าล็อกจับกุมตัว แต่เนื่องจากคนร้ายรูปร่างสูงใหญ่ ส่วนตนตัวเล็กกว่า พยายามจะกอดฟัดกับไอ้โม่ง และตะโกนให้ผู้ชุมนุมที่อยู่ใกล้เคียงช่วย แต่มีเสียงระเบิดและเสียงปืนดังขึ้นเป็นระยะ คนร้ายจึงสลัดหลุดหลบหนีไป แต่ยึดอาวุธปืนไว้ได้

ตามรูปการณ์เข้าข่ายมือที่สามป่วนสถานการณ์ มันรวบรัดเกินไปที่จะโยนให้เป็นฝีมือของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ชุมนุมโดยปราศจากอาวุธมาตลอด 20 กว่าวัน

เอาเป็นว่า โดยปรากฏการณ์หลังนาทีแห่งความสูญเสีย กับคำถามที่เกิดขึ้น

"บิ๊กตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองผู้บัญชาการทหารบก ที่ข่าววงในระบุเป็นคนทุบโต๊ะ "ทุกอย่างต้องจบ" ก่อนนาทีทหารลุยสลายกลุ่มผู้ชุมนุม

จะฝ่าอาถรรพณ์ "ไม่มีรอง ผบ.ทบ.ขึ้นเป็นจ่าฝูงกองทัพบก" ได้หรือไม่

นายกฯอภิสิทธิ์ที่ "มือเปื้อนเลือด" ซะแล้ว จะจัดการกับอนาคตอย่างไร ท่ามกลางเสียงคำรามด้วยความเคียดแค้นของกลุ่มคนเสื้อแดง ไม่ใช่แค่ยุบสภา ลาออกจากนายกรัฐมนตรี

แต่ต้องออกจากประเทศไทยไปเลย.

ทีมข่าวการเมือง รายงาน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.thairath.co.th/column/pol/wikroh/76319

search

search this site the web
search engine by freefind

ฝากไฟล์

YOUR IP