เพื่อการแสดงผลหน้าเว็ป SPVARIETY ที่ถูกต้องท่านควรใช้ IE8 Firefox & Google Chrome

Download Browsing Click Here

This page is optimized for IE8 Firefox & Google Chrome

หลุมยุบ Sinkhole

|

หลุมยุบคืออะไร





หลุมยุบ หรือ Sinkhole เป็นธรณีพิบัติภัยประเภทหนึ่งเกิดตามธรรมชาติ แต่กิจกรรมของมนุษย์ก็สามารถเร่งให้เกิดเร็วขึ้นได้ทั่วไปในภูมิประเทศที่ใต้ผิวดินเป็นหินปูน หินโดโลไมต์และหินอ่อน ซึ่งหินเหล่านี้ละลายได้ในน้ำใต้ดิน ทำให้เกิดโพรงหรือถ้ำใต้ดินขึ้น และเมื่อเพดานต้านทานน้ำหนักของดินและสิ่งก่อสร้างที่กดทับด้านบนไม่ไหวจึงพังกลายเป็นหลุมยุบ



กระบวนการเกิดหลุมยุบ


หลุมยุบ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ดินยุบตัวลงเป็นหลุมลึก และมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1 – 200 เมตร ลึกตั้งแต่ 1 ถึงมากกว่า 20 เมตร เมื่อแรกเกิดปากหลุมมีลักษณะเกือบกลมและมีน้ำขังอยู่ก้นหลุม ภายหลังน้ำจะกัดเซาะดินก้นหลุมกว้างมากขึ้น ลักษณะคล้ายลูกน้ำเต้า ทำให้ปากหลุมพังลงมาจนเหมือนกับว่าขนาดของหลุมยุบกว้างขึ้น


โดยปรกติหลุมยุบจะเกิดในบริเวณที่ราบใกล้กับภูเขาที่เป็นหินปูนเนื่องจากหินปูนมีคุณสมบัติละลายน้ำที่มีสภาพเป็นกรดอ่อนได้ประกอบกับภูเขาหินปูนมีรอยเลื่อนและรอยแตกมากมายดังจะสังเกตเห็นได้ว่าภูเขาหินปูนมีหน้าผาชัน หน้าผาเป็นรอยเลื่อนและรอยแตกในหินปูนนั่นเอง บริเวณใดที่รอยแตกของหินปูนตัดกันจะเป็นบริเวณที่ทำให้เกิดโพรงได้ง่าย


โพรงหินปูนถ้าอยู่พ้นผิวดินก็คือถ้ำ ถ้าไม่โผล่เรียกว่าโพรงหินปูนใต้ดิน ซึ่งจำแนกเป็น 2 ระดับคือ โพรงหินปูนใต้ดินระดับลึก ( ลึกจากผิวดินมากกว่า 50 เมตร ) และโพรงหินปูนใต้ดินระดับตื้น ( ลึกจากผิวดินไม่เกิน 50 เมตร ) ส่วนใหญ่หลุมยุบจะเกิดบริเวณที่มีโพรงหินปูนใต้ดินระดับตื้น


สาเหตุของการเกิดหลุบยุบ



ลักษณะของหลุมยุบ



รูปร่างของหลุมยุบแตกต่างกันไปตามลักษณะการเกิดส่วนใหญ่มีรูปร่างวงกลมหรือวงรี หลุมยุบที่เกิดจากการพังถล่มของเพดานโพรงหรือถ้ำใต้ดิน จะมีขอบหลุมชัน แต่หลุมยุบที่เกิดเนื่องจากการละลายของหินเป็นหลัก จะมีขอหลุมเอียงลาด ขนาดของหลุมขึ้นอยู่กับขนาดของโพรงหรือถ้ำใต้ดิน มีตั้งแต่ไม่กี่เมตรถึงหลายร้อยเมตรและลึกหลายสิบเมตร


หลุมยุบในประเทศไทย


หลุมยุบเกิดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กรทรัพยากรธรณีได้รับแจ้งและเข้าไปตรวจสอบในพื้นที่มากกว่า 45 แห่ง โดยพบว่าพื้นที่ที่เกิดหลุบยุบอยู่ในพื้นที่ราบใกล้ภูเขาหินปูนภายหลังการเกิดธรณีพิบัติภัยแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 พบว่ามีหลุมยุบเกิดขึ้นมากกว่า 19 ครั้ง โดยเกิดใน 4 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากธรณีพิบัติภัยครั้งนี้คือ จังหวัดสตูล พังงา กระบี่ และตรัง ถึง 14 ครั้ง เกิดในภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย 4 ครั้ง และเกิดในภูมิภาคอื่นคือ จังหวัดเลย 1 ครั้ง


แผนที่แสดงโอกาสเกิดหลุมยุบในประเทศไทย



ปัจจัยที่ทำให้เกิดหลุมยุบ





1. เป็นบริเวณที่มีหินปูนรองรับอยู่ในระดับน้ำตื้น

2. มีโพรงหรือถ้ำใต้ดิน

3. มีตะกอนดินปิดทับทาง ( ไม่เกิน 50 เมตร )

4. มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดิน

5. มีรอยแตกที่เพดานโพรงใต้ดิน

6. ตะกอนดินที่อยู่เหนือโพรงไม่สามารถคงตัวอยู่ได้

7. มีการก่อสร้างอาคารที่ที่มีโพรงหินปูนใต้ดินระดับตื้น

8. มีการเจาะบ่อบาดาลผ่านเพดานโพรงหินปูนใต้ดินระดับตื้น ทำให้แรงดันน้ำและอากาศภายในโพรงถ้ำเปลี่ยนแปลง

9. มีผลกระทบที่เกิดจากแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงเกิน 7 ริกเตอร์


สาเหตุที่ทำให้เกิดหลุมยุบหลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์


แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรง 9 ริกเตอร์ ทำให้หินปูนที่มีคุณสมบัติแข็งแต่เปราะได้รับการกระทบกระเทือนเป็นบริเวณกว้าง เพดานโพรงหรือถ้ำใต้ดินที่อยู่ในระดับตื้นและมีความไม่แข็งแรงอยู่เดิมมีโอกาสยุบตัวและถล่มลงมาได้ง่าย


นอกจากนี้คลื่นยักษ์ (สึนามิ) ที่กระหน่ำเข้ามามีแรงกระแทกมหาศาลทำให้ระดับน้ำใต้ดินและบนดินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากปัจจัยที่กล่าวมาบวกกับปัจจัยที่มีอยู่เดิมทำให้เกิดหลุมยุบขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์โดยตรง และในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวเพียงอย่างเดียว


สรุปสาเหตุที่ทำให้เกิดหลุมยุบหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ คือ


1. เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดินอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเกิดคลื่นยักษ์ทำให้แรงดันของน้ำและอากาศภายในโพรงเสียสมดุล


2. เกิดการขยับตัวของพื้นที่ซึ่งอาจทำให้เกิดรอยร้าวของเพดานโพรง สืบเนื่องจากการเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง








ข้อสังเกตก่อนเกิดหลุมยุบ


1. ดินทรุดตัวทำให้กำแพง รั้ว เสาบ้าน ต้นไม้โผล่สูงขึ้น


2. มีการเคลื่อนตัว / ทรุดตัวของกำแพง รั้ว เสาบ้าน ต้นไม้ ประตู / หน้าต่างบิดเบี้ยว ทำให้เปิดยากขึ้น


3. เกิดแอ่งน้ำขนาดเล็กในบริเวณที่ไม่เคยเกิดแหล่งน้ำมาก่อน


4. มีต้นไม้ ใบไม้ ดอกไม้ และพืชผัก เหี่ยวเฉาเป็นบริเวณแคบๆ หรือเป็นวงกลม เนื่องจากการสูญเสียความชื้นของชั้นดินลงไปในโพรงใต้ดิน


5. น้ำในบ่อ สระ เกิดการขุ่นข้น หรือเป็นโคลน โดยไม่มีสาเหตุ


6. อาคาร บ้านเรือนทรุด มีรอยปริแตกบนกำแพง พื้น ทางเดินเท้า และบนพื้นดิน


หลุมยุบในต่างประเทศ


หลุมยุบที่ประเทศ Guatemala ลึก 330 ฟุต



หลุมยุบที่ Winter Park, Florida (1981)



หลุมยุบที่ Daisetta, Texas, 2008



หลุมยุบที่ Winkler, Texas




หลุมยุบ Devil’s Sinkhole, Texas












ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.geopnru.co.cc/?p=253

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

9 หลุมมหัศจรรย์ของโลก
http://hilight.kapook.com/view/49284

search

search this site the web
search engine by freefind

ฝากไฟล์

YOUR IP