เทรนด์กิ๊บเก๋...ป้องกันโรค
ฮัดเช้ยยยย...!! ช่วงนี้
จะไอจามตามพื้นที่สาธารณะต้องตกเป็นเป้าสายตาของผู้คนอยู่เสมอ เพราะหน้าฝนนี้นอกจากจะเสี่ยงเป็นไข้หวัดธรรมดาแล้ว ยังต้องเผชิญกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทั่วโลก ยิ่งตัวเลขผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ใน ประเทศเพิ่มขึ้น หลายคนยิ่งหวาดกลัว แม้ผู้รู้หลายท่านออกมาชี้แจงว่า สามารถหายเองได้เหมือนไข้หวัดธรรมดา แต่ใคร ๆ ก็ไม่อยากให้โรคภัยไข้เจ็บมา กล้ำกราย หน้ากากอนามัยจึงเสมือน “เกราะป้องกันโรค” ซึ่งกำลัง “ฮอตฮิต” ขณะเดียวกันหากมีไว้ใช้งาน แต่ไม่รู้วิธีใช้อย่างถูกสุขลักษณะ “หน้ากากอนามัย” อาจกลายเป็น “หน้า กากสะสมเชื้อร้าย” ก็เป็นได้
นพ.สมชัย นิจพานิช รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เล่าถึงการใช้หน้ากากอนามัยให้ “กิ๊บเก๋” และป้องกันอย่างถูกต้องว่า ความจริงการใช้หน้ากากอนามัย มีไว้ให้ผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดและ ผู้เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจใช้ เพราะหากผู้ป่วยไอจามในที่ชุมชนจะทำให้ผู้อื่น ติดได้ ซึ่งจากผลวิจัยพบว่า ผู้ป่วยไอ 1 ครั้งสามารถแพร่เชื้อได้ไกลถึง 1 เมตร “วิวัฒนาการของหน้ากากอนามัยเกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อ 90 ปีก่อน เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปน ส่วนในไทยสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ได้รับสั่งให้นำมาใช้ทางการแพทย์ปี พ.ศ. 2463” ส่วนการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ผู้ป่วยควรสวมใส่หน้ากากป้องกันเพื่อไม่ให้ผู้อื่นได้รับเชื้อ เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวมที่ผู้ป่วยทุกคนควรให้ความสำคัญ ซึ่ง หน้ากากอนามัยที่นิยมใช้ มี 2 ประเภทคือ 1.หน้ากาก ผ่าตัด ที่มีขายอยู่ตามท้องตลาด ป้องกันเชื้อโรคได้ 5 ไมครอน หรือป้องกันได้ร้อยละ 80 มีอายุการใช้งานประมาณ 3 วัน หากเกิดการฉีกขาดและมีรอยเปื้อนควรทิ้งทันที การสวมใส่ต้องนำด้านที่มีสีเข้มออกทางข้างนอก หรือสังเกตจากรอยพับของผ้าด้านหน้าต้องพับลง ซึ่งหากใส่ผิดรอยพับจะกักเก็บฝุ่นละอองในรอยพับ ทำให้หายใจลำบาก หน้ากากแบบที่ 2 คือ N95 ป้องกันเชื้อโรคได้ 0.3 ไมครอน กรองได้ละเอียดกว่าชนิดแรก หน้ากากมีแบบชนิดที่มีวาล์วเพื่อให้หายใจได้สะดวก ส่วนชนิดที่ไม่มีวาล์วได้รับความนิยมเพราะราคาถูก แต่มีข้อเสียอยู่ที่หากใส่ไปนาน ๆ ทำให้หายใจลำบาก จึงไม่ควรให้เด็กที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ใส่ เพราะอาจทำให้เด็กเสียชีวิต ขณะเดียวกันหากชำรุดหรือเห็นสภาพไม่สามารถใช้งานต่อไปได้ควรทิ้งทันที “ก่อนใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งต้องล้างมือให้สะอาดก่อน และเมื่อทำการสวมใส่ควรหลีกเลี่ยงให้มือไปสัมผัสกับเนื้อผ้าบริเวณด้านในที่แนบกับจมูกและปาก เพราะในมืออาจมีเชื้อโรคทำให้เข้าสู่ร่างกายได้ ดังนั้นการสวมหน้ากากแบบผ่าตัดต้องจับสายด้านข้างดึงแล้วร้อยกับหู ส่วนแบบ N95 ควรจับบริเวณด้านนอกเพื่อประคองและดึงสายสวม” นอกจากนี้ การสวมใส่อย่างถูกวิธีเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ใช้หน้ากากอนามัยควรให้ความใส่ใจ โดย นพ.สมชัย กล่าวว่า ควรใส่ให้ผ้าปิดตั้งแต่จมูกจนถึงคาง เพื่อป้องกันเชื้อร้ายที่แฝงตัวมากับอากาศเข้าสู่ร่างกาย ขณะเดียวกันหลายคนอาจเกรงกลัวจนต้องดึงสายรัดให้แน่นมากที่ สุดนั้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีเพราะ ทำให้หายใจไม่สะดวก ในความเป็นจริงผู้ใส่ควรดัดเหล็กที่เป็นโครงให้เข้า กับดั้งจมูกให้แนบสนิท เนื่องจากเป็นจุดเสี่ยง ที่เชื้อโรคจะเข้าสู่จมูกได้ง่าย ขณะเดียวกันเมื่อใส่หน้ากากอนามัยแล้วไม่ควรล้วงหรือเกาบริเวณที่ผ้าปิดอยู่ จะทำให้เชื้อโรคที่ติดมากับมือเข้าไปภายใต้หน้ากาก อนามัยได้ อย่างไรก็ตาม จากความต้องการของประชาชนในการเลือกซื้อหน้ากากอนามัยที่เพิ่มมากขึ้นทำให้หน้ากากผ่าตัดจาก ราคาไม่เกินแผ่นละ 5 บาท ถีบตัวสูงขึ้นอยู่ที่แผ่นละเกือบ 20 บาท ทำให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอซื้อมาใช้ได้ทุกวัน นพ.สมชัย แนะนำว่า การประดิษฐ์หน้ากาก อนามัยผ้าขึ้นมาเองก็สามารถ ช่วยป้องกันได้ 80% โดยใช้วัสดุเช่น ผ้าสาลู ผ้าฝ้าย ผ้ายืด ผ้าอ้อมเด็ก ผ้าถุง เป็นต้น ทำให้ประหยัดเงินได้อย่างมากเพราะไม่ต้องเสียเงินซื้อบ่อย ๆ หน้ากากที่ผลิตเองสามารถนำมาซักใช้ใหม่ได้ โดย การประดิษฐ์หน้า กากอนามัยขึ้นใช้งาน เหมาะกับเด็ก ๆ ที่ชอบลายการ์ตูนสวยงามสามารถนำผ้าลวดลายต่าง ๆ มาใช้ในการทำ หรือเพนท์รูปภาพเล็กน้อย เพราะหากใช้สีระบาย จนทึบไปหมดจะทำให้เด็กหายใจไม่สะดวก ขณะเดียวกันอาจนำสติกเกอร์มาตกแต่งได้เช่นกัน “ประเทศญี่ปุ่นเมื่อผู้ป่วยรู้ว่าไม่สบายเขาจะใส่หน้ากาก อนามัยทุกช่วงเวลาเพื่อไม่ให้ไปติดผู้อื่น ส่วนในสหรัฐอเมริกาวัฒนธรรมด้านสุขอนามัยจะชอบล้างมือบ่อยมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้อยากให้คนไทยนำมาปฏิบัติจนเป็นวัฒนธรรมด้านสุขอนามัยอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต”
นพ.สมชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า การดูแลร่างกายให้แข็งแรงเป็นภูมิต้านทานที่ดีที่สุด ควรหลีกเลี่ยงไปในสถานที่ชุมชนหากมีอาการเป็นไข้ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และรีบไปพบแพทย์ ส่วนเด็ก ๆ หากไม่มีหน้ากาก อนามัยไม่ควรพาไปในที่ชุมชนเพราะอาจเสี่ยงต่อการติดโรคได้ ไม่แน่อนาคตหน้ากากอนามัยในไทยอาจเป็นมากกว่า “เกราะป้องกัน” เพราะไม่ว่าใครก็สามารถทำหน้ากากอนามัยขึ้นมาตอบสนองจินตนาการของตัวเองได้.
ขั้นตอนการทำหน้ากากอนามัย
1. นำผ้าที่เตรียมไว้มาพับครึ่งตามความยาวผ้าแล้วพับจับจีบทวิช 1 นิ้ว ตรงกลางผ้ากลัดด้วยหมุดหรือเนาตรึงไว้ (ตามภาพที่ 1-5) และทำอีกชิ้นเช่นเดียวกัน 2. นำผ้าที่พับไว้มาวาง โดยหันด้านนอกขึ้น และนำยางยืดมาวางที่มุมผ้าด้านกว้างข้างบนและข้างล่างด้านละ 1 เส้น กลัดเข็มหมุดหรือเนาตรึงไว้ (ตามภาพที่ 6)
3. นำผ้าที่พับไว้อีกชั้นมาวางซ้อนกับผ้าชิ้นแรกที่ตรึงยางยืดไว้ โดยหันผ้าด้านนอกชนกัน แล้วเย็บจักรหรือด้นถอยหลังรอบผ้าสี่เหลี่ยมให้ห่างจากริมผ้าด้านละครึ่งเซนติเมตร โดยเว้นช่องว่างไว้กลับตะเข็บประมาณ 1 นิ้ว (ตามภาพที่ 7)
4. ขลิบผ้าตรงมุมทั้ง 4 มุม ให้ใกล้กับรอยเย็บ เพื่อเวลากลับตะเข็บจะได้เรียบร้อยสวยงาม (ตามภาพที่ 8)
5. สอยปิดช่องว่างที่เว้นไว้ให้เรียบร้อย (ตามภาพที่ 9)
ศราวุธ ดีหมื่นไวย์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เดลินิวส์
ดูภาพขนาดใหญ่
โปสเตอร์วิธีใช้หน้ากากอนามัย
เพื่อการแสดงผลหน้าเว็ป SPVARIETY ที่ถูกต้องท่านควรใช้ IE8 Firefox & Google Chrome
Download Browsing Click Here
This page is optimized for IE8 Firefox & Google Chrome
เขียนโดย sp ที่ 00:40
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น