เพื่อการแสดงผลหน้าเว็ป SPVARIETY ที่ถูกต้องท่านควรใช้ IE8 Firefox & Google Chrome

Download Browsing Click Here

This page is optimized for IE8 Firefox & Google Chrome

10 เครื่องมือที่สร้างเสริมศักยภาพการตลาดปัจจุบัน

|


เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า การตลาดเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น

ธุรกิจขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ที่อยู่ท่ามกลางภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบัน ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ผู้เขียน ต้องหยิบยกเรื่องราวที่เกี่ยวกับเครื่องมือที่จำเป็น ในการสร้างเสริมศักยภาพการตลาดมานำเสนอ เพื่อเป็นแนวทางแก่แฟนคอลัมน์คลื่นความคิด ที่ได้เขียนมาสอบถามกันหลายท่านว่ามีอะไรบ้าง และให้ผู้เขียนช่วยแยกแยะความแตกต่างให้ด้วย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้


1.การโฆษณา (Advertising) เป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาดที่มุ่งหวังที่จะโน้มน้าวใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ให้เกิดพฤติกรรมในการซื้อ และใช้ผลิตภัณฑ์โดยการส่งสารที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการผ่านสื่อมวลชน โดยมีการระบุผู้สนับสนุนที่มีการเสียค่าใช้จ่ายในการสื่อสารดังกล่าว


2.การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) เป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาดที่มุ่งสร้างภาพลักษณ์ให้กับบริษัท สินค้าหรือบริการตลอดจนตราสินค้ามากกว่าจะมุ่งสร้างยอดขายให้กับองค์กร


3.การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) เป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาดที่ใช้กระตุ้นพฤติกรรมลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้เกิดการซื้อสินค้าอย่างหรือบริการรวดเร็ว โดยการนำเสนอผลประโยชน์พิเศษเป็นการตอบแทนแก่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย


4.การตลาดโดยตรง (Direct Marketing) เป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาดที่ทำการส่งข้อมูลข่าวสารโดยตรงที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมายทั้งในลักษณะของการส่งผ่านทางไปรษณีย์ การใช้โทรศัพท์ การขายตรงหรืออื่นๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายสามารถตอบกลับด้วยการสั่งซื้อสินค้าหรือสอบถามข้อมูลจากบริษัทได้โดยตรงนั่นเอง


5.การขายโดยพนักงานขาย (Personal Selling) เป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาดที่มุ่งสื่อสารแบบตัวต่อตัว เพื่อจูงใจให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เกิดการทดลองใช้หรือซื้อสินค้า


6.การเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาด (Sponsorship Marketing) เป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาด ที่เจ้าของสินค้าได้ลงทุนเข้าไปเป็นผู้สนับสนุนในกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ โดยมีเป้าหมายทางธุรกิจเป็นสำคัญ


7.การจัดกิจกรรมทางการตลาด (Event Marketing) เป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาดที่มีลักษณะคล้ายคลึง กับการสนับสนุนทางการตลาด เพียงแต่เจ้าของ หรือผู้บริหารตราสินค้ามีโอกาสเป็นเจ้าของกิจกรรมเหล่านั้น


8.การสื่อสาร ณ จุดซื้อ (Point-of-Purchase Communications) เป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาด ที่มีการจัดแสดงสินค้า โดยใช้สัญลักษณ์ โปสเตอร์ ธงราวหรือวัสดุอื่นๆ เพื่อเตือนความจำ เรียกร้องความสนใจ จากลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ณ จุดซื้อสินค้า


9.การจัดงานแสดงสินค้า (Trade Shows) เป็นช่องทางการสื่อสารการตลาดชั่วคราวทางการขายสินค้า หรือบริการรูปแบบหนึ่งที่ใช้ต้นทุนต่ำในการนำเสนอแก่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการแนะนำสินค้าใหม่ เพราะสามารถสาธิตและรับสั่งจองสินค้าจากลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้


10.การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) เป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาด ที่กระทำต่อลูกค้าและผู้คาดหวังว่าจะเป็นลูกค้า โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาวระหว่างบริษัทและตราสินค้ากับลูกค้าหรือผู้คาดหวังนั่นเอง


ที่มา มติชนรายวัน โดยธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ

เรื่องหุ้น เงิน น่ารู้ http://learningforex-non.blogspot.com/2008/06/forex-learn-trading-article.html

0 ความคิดเห็น:

search

search this site the web
search engine by freefind

ฝากไฟล์

YOUR IP